รู้จัก ภาษีที่ดิน หลัง ชัชชาติ ขอ รบ. ใหม่ทวนจัดเก็บภาษีที่ดิน - สิ่งปลูกสร้าง

29 พฤษภาคม 2566

ทำความรู้จัก ภาษีที่ดิน หลัง ชัชชาติ วอนรัฐบาลใหม่ทบทวนจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หลังสูตรคำนวณรูปแบบใหม่ตามมูลค่าที่ดิน

รู้จัก ภาษีที่ดิน หลัง ชัชชาติ ขอ รบ. ใหม่ทวนจัดเก็บภาษีที่ดิน - สิ่งปลูกสร้าง : "ภาษีที่ดินคืออะไร" หลังจากที่ นายชัชชาติ  สิทธิพันธ์ ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ฝากการบ้านให้รัฐบาลชุดใหม่ทบทวนการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยคิดตามมูลค่าที่ดิน ทำให้ กทม.มีรายได้ลดลง เดิมจัดเก็บได้ประมาณ 300 ล้านบาท เมื่อเปลี่ยนรูปแบบจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทำให้รายได้ลดลงเหลือประมาณ 200 ล้านบาท 

 

รู้จัก ภาษีที่ดิน หลัง ชัชชาติ ขอ รบ. ใหม่ทวนจัดเก็บภาษีที่ดิน - สิ่งปลูกสร้าง

ซึ่งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกลายเป็นว่าผู้มีรายได้มากเสียภาษีต่ำลงมามาก ห้างสรรพสินค้าดังย่านพญาไท เดิมเสียภาษี 10 ล้าน แต่เก็บรูปแบบใหม่ เสียแค่ 1 ล้าน ลดลงถึง 10 เท่า

 
วันนี้ ทีมข่าวไทยนิวส์จะพาไปรู้จัก ภาษีที่ดิน คืออะไร?
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คืออะไร  คือ ภาษีรายปีที่เก็บและคิดจากมูลค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่เจ้าของที่ดินครอบครอง โดยมีองค์กรท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารตำบล เป็นผู้จัดเก็บ


- ใครบ้างต้องเสียภาษีที่ดิน
เจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ (ดูตามโฉนด ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน)
 ผู้ครอบครอง/ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
ซึ่งกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2562 เป็นกฎหมายที่มาแทนที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน กับ ภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งซ้ำซ้อนกัน

 

ทำความรู้จัก ภาษีที่ดิน หลัง ชัชชาติ วอนรัฐบาลใหม่ทบทวนจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

- ภาษีที่ดิน 2566 แบ่งประเภทที่ดินที่ต้องเสียภาษีไว้จำนวน 4 รายการดังนี้
ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม 
ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย 
 ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม 
 ที่ดินรกร้างว่างเปล่า

- ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม เพดานภาษีสูงสุด 0.15%
บุคคลธรรมดา มูลค่าที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาทไม่ต้องเสียภาษี
นิติบุคคล  มูลค่าที่ดินส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท เสียตามอัตราปกติ

- ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย ภาษีสูงสุด 0.30%
บ้านหลังหลัก มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาทไม่เสียภาษี ส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท เสียตามอัตราปกติ
ซื้อคอนโด หรือ สร้างบ้านบนที่ดินเช่า มูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาทไม่เสียภาษี ส่วนที่เกิน 10 ล้านบาทเสียตามอัตราปกติ
ที่ดินหรือบ้านหลังอื่น เสียตามอัตราปกติ


- ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม  ภาษีสูงสุด 1.20%
หมายถึง ที่ดินอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรและการอยู่อาศัย เช่น โรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านสะดวกซื้อ โรงงาน หอพักรายวัน บ้านเช่ารายวัน โดยต้องเสียภาษีตามอัตราปกติ


- ที่รกร้างว่างเปล่า เพดานสูงสุด 3%
ปล่อยรกร้างติดต่อกัน 3 ปี  เสียภาษีในปีที่ 4 ถูกเก็บเพิ่มอีก 0.3% และจะเพิ่มอัตราภาษีอีก 0.3% ในทุก ๆ 3 ปีที่ปล่อยที่ดินรกร้าง แต่โดยรวมทั้งหมดแล้วจะเก็บภาษีได้ไม่เกิน 3%


ทั้งนี้เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 ราชกิจจาฯได้ประกาศลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท ปี 2566สำหรับสาระสำคัญของพระราชกฤษฎีกาลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท ฉบับที่ 3 ปี 2566 กำหนดให้ลดภาษีในอัตรา 15% ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้ ดังนี้

1.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม
2.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย
3.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นๆ
4.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามสมควรแก่สภาพ


อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างทั้ง 4 ข้อ จะได้ลดภาษีตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2563 ให้การลดภาษีเป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว.
ทำความรู้จัก ภาษีที่ดิน หลัง ชัชชาติ วอนรัฐบาลใหม่ทบทวนจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ทำความรู้จัก ภาษีที่ดิน หลัง ชัชชาติ วอนรัฐบาลใหม่ทบทวนจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ข้อมูลจาก กระทรวงมหาดไทย , ราชกิจจานุเบกษา