การเลี้ยงนกปรอดหัวโขน หนึ่งในวัฒนธรรมชายแดนใต้

19 กันยายน 2565

"นกปรอดหัวโขน" หรือภาคใต้เรียกว่า "นกกรงหัวจุก" สิ่งสำคัญที่ผู้เลี้ยงต้องรู้ คือนกชนิดนี้ ถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ใครครอบครองต้องขออนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

นกปรอดหัวโขน (Red-whiskered Bulbul) มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า "นกปรอดหัวโขนเคราแดง" หรือที่กลุ่มผู้เลี้ยงนกในภาคใต้ เรียกว่า "นกกรงหัวจุก" ในภาคเหนือเรียกว่า "นกปิ๊ดจะลิว" มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Pycnonotus jocosus

เป็นนกที่อยู่ในวงศ์นกปรอด Pycnonotidae ซึ่งอยู่ด้วยกันทั้งหมด 109 ชนิด ในประเทศไทยพบ 36 ชนิด

พบกระจายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงเอเชียตะวันออก พบได้ในสภาพแวดล้อมตั้งแต่ยอดเขาสูง และตามป่าที่ราบต่ำ จนถึงทุ่งหญ้า ชายป่า และเขตที่ใกล้กับชุมนุม จากที่ราบไปจนถึงระดับความสูง 1,800 เมตร

นกปรอดหัวโขน เป็นนกที่มีอยู่ในป่าทั่วทุกภาคของประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน พบได้บ่อยทางภาคเหนือ และภาคอีสานตอนบน โดยมีชื่อเรียกกันดังนี้

ภาคเหนือ จะเรียกว่า "นกปริ๊จจะหลิว หรือ พิชหลิว" "นกปิ๊ดจะลิว"

ภาคกลาง จะเรียกว่า "นกปรอดหัวโขน" หรือ "นกปรอดหัวจุก"

ภาคใต้ เรียกว่า "นกกรงหัวจุก"

การเลี้ยงนกปรอดหัวโขน หนึ่งในวัฒนธรรมชายแดนใต้

ลักษณะ "นกปรอดหัวโขน"

 

รูปร่างลักษณะ "นกปรอดหัวโขน" เป็นนกขนาดเล็ก ปากสีดำเรียว ปลายปากโค้งเล็กน้อย หลังคอและด้านข้างคอมีสีดำ ใต้ตามีแถบสีแดง ซึ่งตัวเมียจะมีสีอ่อนกว่าตัวผู้ ขนคลุมตัวด้านหลัง ขนคลุมหางสีน้ำตาล มีหงอนยาวสีดำตั้งชัน ขึ้นมาบริเวณหน้าผาก มองดูคล้ายคนที่สวมหัวโขน 

แก้มสีขาว มีแถบดำล้อมด้านล่าง ค้าง ใต้คอ หน้าอกท้องสีขาว มีขนสั้นแข็ง บริเวณโคนปาก คอสั้น ลำตัวเพรียวปีกสั้น หางยาว ลำตัวด้านบน สีน้ำตาล ด้านล่างสีขาว ขนหางและปีกมีสีน้ำตาลแก้มดำ ขาสีน้ำตาลดำ เล็บสีดำ ขนคลุมใต้โคนหางสีส้มแดง ขนหางสีน้ำตาลดำ ปลายหางสีขาว

การเลี้ยงนกปรอดหัวโขน หนึ่งในวัฒนธรรมชายแดนใต้

กฎหมายปัจจุบันในการเลี้ยงนกปรอดหัวโขน เป็นสัตว์ที่มีรายชื่ออยู่ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง แต่มีความพยายามของผู้ที่นิยมเลี้ยงผลักดันให้เป็นสัตว์ที่เลี้ยงได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งประเด็นนี้มีทั้งผู้ที่เห็นและคัดค้าน เนื่องจากจนถึงปัจจุบันนกปรอดหัวโขนที่เลี้ยงไว้เกือบทั้งหมดมาจากการจับจากธรรมชาติทั้งสิ้น ไม่ได้มาจากการเพาะเลี้ยงอย่างที่อ้างกัน ซึ่งการจับนกจากธรรมชาติเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นกชนิดนี้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติในภาคใต้ของประเทศไทย

การเลี้ยงนกปรอดหัวโขน หนึ่งในวัฒนธรรมชายแดนใต้