ภารกิจช่วยเหลือลูกชะนีมงกุฎที่ได้รับบาดเจ็บ

01 เมษายน 2567

หมอแจนสัตวแพทย์ประจำส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สบอ.9 อุบลราชธานี เล่าเรื่องราวน้องกองกอยชะนีมงกุฎสัตว์ป่าพลัดหลง ให้ฟังว่าจากกรณีได้รับแจ้งผ่านสายด่วนพิทักษ์ป่า 1362 เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2566 จากคุณกานต์รวี แจ้งว่าพบชะนีบาดเจ็บ 1 ตัว บริเวณ ต.บุเปือย อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี

เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดมจึงไปตรวจสอบและรับชะนีตัวดังกล่าว ซึ่งเป็นชะนีมงกุฎ เพศเมีย มีบาดแผลเต็มตัว จึงนำส่งมารักษาที่คลินิกสัตว์ป่า ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) สัตวแพทย์ตรวจร่างกายพบว่าชะนีมีภาวะขาดน้ำ พบแผลทั่วบริเวณลำตัว และมีแผลหลุมบริเวณสะโพกด้านขวา ประเมินอายุคาดว่ามีอายุ 1 เดือน ทำการรักษา ดูแลอย่างใกล้ชิดจนปัจจุบันเป็นระยะเวลา 3 เดือนแล้ว

ภารกิจช่วยเหลือลูกชะนีมงกุฎที่ได้รับบาดเจ็บ

ภารกิจช่วยเหลือลูกชะนีมงกุฎที่ได้รับบาดเจ็บ

ทำไมถึงเรียกน้องชะนีมงกุฎตัวนี้ว่า “กองกอย” เพราะช่วงแรก ๆ ที่รับน้องมาดูแลรักษา น้องมีสภาพคล้ายผีกองกอย มีแผลเต็มตัว ขนก็ไม่ค่อยมี ปัจจุบันกองกอยแผลหายหมดแล้ว ขนขึ้นเต็มทั่วตัว กินนมเก่ง สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้นมาก!!

เมื่อน้อนกองกอย แข็งแรง คุณแม่(หมอแจน ) จะนำไปปรับตัวกับสภาพธรรมชาติที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม และถ้าน้อนกองกอยพร้อมจะปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติต่อไป

ภารกิจช่วยเหลือลูกชะนีมงกุฎที่ได้รับบาดเจ็บ

ภารกิจช่วยเหลือลูกชะนีมงกุฎที่ได้รับบาดเจ็บ

พฤติกรรม : อาศัยอยู่บนไม้ ใช้ชีวิตเกือบทั้งวันอยู่บนต้นไม้สูง เวลากินน้ำใช้หลังนิ้วแตะน้ำและยกดูด ชอบร้องและผึ่งแดดเวลาเช้าตรู่บนกิ่งไม้เวลาอากาศร้อนจัดจะลงมาจากต้นไม้สูงเพื่อหลบแดด เวลาตกใจจะเหวี่ยงตัวโหนไปตามกิ่งไม้อย่างรวดเร็ว มีนิสัยดุร้ายเมื่อโตเต็มที่แล้ว

ภารกิจช่วยเหลือลูกชะนีมงกุฎที่ได้รับบาดเจ็บ