ท่องเที่ยว

heading-ท่องเที่ยว

วัดอรุณราชวราราม วัดโบราณสมัยรัตนโกสินทร์

24 ก.พ. 2566 | 15:05 น.
วัดอรุณราชวราราม วัดโบราณสมัยรัตนโกสินทร์

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดแจ้ง วัดโบราณ วัดสวยกรุงเทพ อยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา กับประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์

วัดอรุณราชวราราม วันนี้ทีมข่าว Thainews Online จะพาไปทำความรู้จัก วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดแจ้ง วัดติดแม่น้ำเจ้าพระยา วัดสวยกรุงเทพ ที่คุณควรจะมาสักครั้ง และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ วัดโบราณ สมัยรัตนโกสินทร์ จะมีเรื่องอะไรบ้างไปติดตามได้พร้อมกันค่ะ

วัดอรุณราชวราราม วัดโบราณสมัยรัตนโกสินทร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วัดอรุณราชวราราม วัดโบราณสมัยรัตนโกสินทร์

วัดอรุณฯ นับว่าเป็นศาสนสถานที่สำคัญและทรงคุณค่า งดงามด้วยศิลปะและสถาปัตยกรรมมากมายที่ควรค่าแก่การศึกษา และเที่ยวชมประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ 

วัดอรุณราชวราราม ประวัติ

วัดอรุณราชวราราม หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า วัดแจ้ง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ที่ชื่อวัดแจ้ง เพราะ พระเจ้าตากฯ ทำศึกเสร็จ แล้วยกทัพกลับมาเป็นเวลาเช้าพอดี ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว

เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2321 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในปี พ.ศ. 2327

วัดอรุณราชวราราม วัดโบราณสมัยรัตนโกสินทร์

ใน สมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”

11 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ วัดอรุณราชวราราม วัดโบราณสมัยรัตนโกสินทร์

1. วัดอรุณฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร หมายถึงพระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ ตั้งอยู่แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

2. วัดอรุณฯ เป็นวัดโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า "วัดมะกอก" แต่เมื่อครั้งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระราชประสงค์ย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรี โดยกรีธาทัพมาทางชลมารค และมาถึงหน้าวัดมะกอกเอารุ่งสาง จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดแจ้ง" จวบจนสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 เถลิงถวัลยราชสมบัติ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จ พระองค์เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อจนเสร็จ โดยพระราชทานนามวัดว่า "วัดอรุณราชวราราม" และกลายเป็นวัดประจำรัชกาลในพระองค์

3. พระปรางค์ใหญ่วัดอรุณฯ ถือได้ว่าเป็นศิลปกรรมที่สง่าและโดดเด่นที่สุด ก่อสร้างโดยช่างฝีมือที่มีความเชี่ยวชาญ บนพระปรางค์ประดับด้วยเครื่องกระเบื้องเคลือบและเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ที่นำเข้ามาจากจีน ซึ่งมีลวดลายงดงามเป็นของเก่าแก่และหายาก โดยได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5

4. บริเวณโดยรอบพระปรางค์ใหญ่วัดอรุณฯ ประกอบด้วยพระปรางค์เล็ก 4 องค์ รอบ 4 ทิศ ภายในมีรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ กำแพงแก้วกั้น มีฐานทักษิณ 3 ชั้น มีรูปปั้นมารและกระบี่แบกฐานสลับกัน นอกจากนั้นมีซุ้ม 4 ซุ้ม มีพระนารายณ์อวตาร เหนือขึ้นไปเป็นยอดปรางค์ มีเทพพนมนรสิงห์เพื่อปราบยักษ์
 
5. ปัจจุบันพระปรางค์วัดอรุณฯ ได้ดำเนินการบูรณะครั้งใหญ่อีกครั้งตั้งแต่ประมาณวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556 และได้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงเป็นที่เรียบร้อย หลังจากที่ประสบปัญหาพระปรางค์ทรุดโทรมอย่างหนักมาโดยตลอด และเตรียมจัดงานสมโภชครั้งยิ่งใหญ่ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ถึง 5 มกราคม พ.ศ. 2561 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ "พระปรางค์วัดอรุณฯ บูรณะเสร็จเรียบร้อย พร้อมจัดพิธีสมโภชอย่างยิ่งใหญ่"
 
6. สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าชมพระปรางค์วัดอรุณฯ ควรแต่งกายอย่างสุภาพ และใช้ความระมัดระวังในการเดิน เพราะบันไดค่อนข้างสูงและชัน และบางช่วงก็ค่อนข้างแคบ รวมถึงไม่ควรสัมผัสหรือทำการใด ๆ ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์พระปรางค์ทั้งสิ้น

7. ซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถ จะมียักษ์วัดแจ้งที่มีชื่อเสียงยืนเฝ้าอยู่ ยักษ์กายสีขาว มีชื่อว่า "สหัสเดชะ" ยักษ์กายสีเขียว มีชื่อว่า "ทศกัณฐ์" เป็นยักษ์ศิลปะแบบจีน ปูนปั้นประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี มือถือตะบองใหญ่เป็นอาวุธ ตรงบริเวณหน้าซุ้มทางเข้าพระอุโบสถ แฝงไว้ด้วยคติความเชื่อในการทำหน้าที่เป็นเทพพิทักษ์ ปกปักรักษาสถานที่สำคัญทางศาสนา

8. จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจอื่น ๆ ในวัดอรุณฯ ได้แก่
 
- พระอุโบสถ ประดิษฐานพระประธานชื่อว่า "พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ประดิษฐานเหนือแท่นไพทีบนฐานชุกชี กล่าวกันว่ารัชกาลที่ 2 ทรงปั้นวงพระพักตร์พระพุทธรูปองค์นี้ด้วยพระองค์เอง

- พระวิหารหลวง เข้าสักการบูชา "พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร" พระประธานประจำพระวิหารหลวง และสักการะพระอรุณ หรือพระแจ้ง พระพุทธศิลป์แห่งลานช้าง

- หอสมุดสมเด็จพระพุฒาจารย์ แหล่งรวมหนังสือธรรมะ, ชีวประวัติพระสงฆ์-เกจิอาจารย์, ประวัติวัดต่าง ๆ, พระไตรปิฎก, คู่มือนักธรรม, คู่มือเปรียญธรรม (บาลี), และวารสารต่าง ๆ และสักการบูชาพระบรมศาสดาศากยมุนีพุทธเจ้าและพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า แกะสลักจากไม้จันทน์หอม
 
- พระอุโบสถน้อย-พระวิหารจุฬามณี เข้าสักการบูชาหลวงพ่อรุ่งมงคล พระประธานประจำพระอุโบสถน้อย, สักการบูชารูปหล่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, ชมพระแท่นวิปัสสนา, ชมพระแท่นบรรทมของรัชกาลที่ 2, สักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ในพระเจดีย์จุฬามณี และบูชาท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4
          
9. ช่วงเวลาแนะนำสำหรับการมาเที่ยววัดอรุณฯ แนะนำให้มาช่วงเช้าหรือช่วงเย็นของวัน เพราะว่าแดดจะไม่ร้อนมากแถมบรรยากาศกำลังดีอีกด้วย

10. วัดอรุณฯ เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าเยี่ยมชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.30-17.30 น. (คนไทยเข้าชมฟรี นักท่องเที่ยวต่างชาติเสียค่าเข้าคนละ 40 บาท)
 
11. การเดินทางมายังวัดอรุณฯ สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกทั้งทางเรือและทางรถ

- ทางเรือ สามารถนั่งเรือด่วนเจ้าพระยามาลงที่ท่าเตียน หลังจากนั้นนั่งเรือข้ามฟากจากฝั่งพระนครมาลงท่าเรือหน้าวัดอรุณฯ ได้เลย
 
- ทางรถ จากถนนปิ่นเกล้า เลี้ยวเข้าถนนอรุณอมรินทร์ ผ่านหน้าโรงพยาบาลศิริราช ตรงมาเรื่อย ๆ ยังกรมอู่ทหารเรือ จะเห็นทางเข้าวัดอรุณฯ อยู่ถัดไปไม่ไกล

วัดอรุณราชวราราม วัดโบราณสมัยรัตนโกสินทร์

ขอบคุณ :  วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

"ทนายธรรมราช" โพสต์ข้อความให้กำลังใจ "กรรชัย" ชาวเน็ตเมนต์เพียบ

"ทนายธรรมราช" โพสต์ข้อความให้กำลังใจ "กรรชัย" ชาวเน็ตเมนต์เพียบ

"พีช" ลูกนายกเบี้ยว เจอ 4 ข้อหาหนัก ขับถ BMW ปาดหน้าชนลุงป้า

"พีช" ลูกนายกเบี้ยว เจอ 4 ข้อหาหนัก ขับถ BMW ปาดหน้าชนลุงป้า

ราชกิจจาฯ แต่งตั้ง "วีระพล ตั้งสุวรรณ" นั่งนายกสภา ม.รามคำแหง

ราชกิจจาฯ แต่งตั้ง "วีระพล ตั้งสุวรรณ" นั่งนายกสภา ม.รามคำแหง

"หวยฮานอยวันนี้" 19 เม.ย. 68 ฮานอยวันนี้ออกอะไร ผลฮานอย 19/4/68

"หวยฮานอยวันนี้" 19 เม.ย. 68 ฮานอยวันนี้ออกอะไร ผลฮานอย 19/4/68

พิกัดไฟดับวันนี้ 20 เม.ย. 2568 กระทบ 53 จุด กทม. สมุทรปราการ นนทบุรี

พิกัดไฟดับวันนี้ 20 เม.ย. 2568 กระทบ 53 จุด กทม. สมุทรปราการ นนทบุรี