ชมภาพ "นกกระเรียนพันธุ์ไทย" ชีวิตใหม่แห่งพื้นที่ชุ่มน้ำจังหวัดบุรีรัมย์

10 สิงหาคม 2566

จากสัตว์ป่าที่มีรายงานการสูญพันธุ์จากธรรมชาติไปแล้ว ใครจะไปเชื่อว่า วันนี้ นกกระเรียนพันธุ์ไทย หนึ่งในสัตว์ป่าสงวนของไทย กลับมามีชีวิตชีวา เดินหากินในท้องนา ขยายพันธุ์ออกลูกออกหลานในพื้นที่แแหล่งชุ่มน้ำตามธรรมชาติได้อีกครั้ง

โครงการปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทยคืนสู่ธรรมชาติ ถือเป็นประสบความสำเร็จในประเทศไทย และในระดับโลก จากนกที่เคยสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยไปแล้วกว่า 50 ปี เมื่อปี พ.ศ.2554 องค์การสวนสัตว์ได้เพาะเลี้ยง ศึกษาจากพ่อแม่พันธุ์ที่มีอยู่ที่สวนสัตว์นครราชสีมา ต่อมาเห็นว่ามีจำนวนมากพอที่จะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ จึงได้พิจารณาพื้นที่เหมาะสมบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำเหมาะแก่การอยู่อาศัยของนก หลายชนิด จึงเริ่มปล่อยคืนสู่ธรรมชาติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยความร่วมมือกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หน่วยงานราชการในพื้นที่ของจังหวัดบุรีรัมย์ และได้มีการทำความเข้าใจกับคนในชุมชนรอบ ๆ พื้นที่ ทำให้อัตราการอยู่รอดของนกกระเรียนสูงมาก และเป็นที่มาที่ทำให้นกกระเรียนพันธุ์ไทย สามารถกลับมามีชีวิตร่วมกับวิถีชุมชนแห่งพื้นที่ชุ่มน้ำ จังหวัดบุรีรัมย์ได้อย่างปกติสุข

ชมภาพ "นกกระเรียนพันธุ์ไทย" ชีวิตใหม่แห่งพื้นที่ชุ่มน้ำจังหวัดบุรีรัมย์

นกกระเรียนพันธุ์ไทย

ชื่อภาษาอังกฤษ / Eastern Sarus Crane

ชื่อวิทยาศาสตร์ / 𝘼𝙣𝙩𝙞𝙜𝙤𝙣𝙚 𝙖𝙣𝙩𝙞𝙜𝙤𝙣𝙚 𝙨𝙝𝙖𝙧𝙥𝙞𝙞

ข้อมูลทั่วไป :

เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ ลำตัวและปีกสีเทา คอตอนบนและหัวไม่มีขนแต่มีลักษณะเป็นตุ่มหนังสีส้มหรือสีแดงสด บริเวณกลางกระหม่อมเป็นแผ่นหนังเปลือยสีเทาหรือเขียวอ่อน คอยาว เวลาบินคอและขาจะเยียดตรง ขายาวสีแดงอมชมพู มีแผ่นขนหูสีเทา ม่านตาสีส้มแดง ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย

ถิ่นอาศัย :

พื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำในเขตสูง พื้นที่เกษตรกรรม และทุ่งนา

อาหาร :

สัตว์น้ำ พืชน้ำ สัตว์น้ำขนาดเล็ก แมลง เมล็ดพืช ข้าวเปลือก

ชมภาพ "นกกระเรียนพันธุ์ไทย" ชีวิตใหม่แห่งพื้นที่ชุ่มน้ำจังหวัดบุรีรัมย์

สถานภาพปัจจุบัน :

เป็นสัตว์ป่าสงวน 1 ใน 19 ชนิด ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562

ข้อมูลภาพถ่าย :

ถ่ายโดย นายวิษณุรักษ์ ศรีบัณฑิต นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ

สถานที่ถ่ายภาพ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก

ชมภาพ "นกกระเรียนพันธุ์ไทย" ชีวิตใหม่แห่งพื้นที่ชุ่มน้ำจังหวัดบุรีรัมย์
ที่มา : สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 (นครราชสีมา)