7 อาการ ที่ ร่างกาย แสดงออกมา ว่า อ่อนล้า ต้องรีบดูแลตัวเอง
1. อารมณ์เสียบ่อยเกินไป
2. รู้สึกเบื่อหน่ายไปหมด
3. พูดจาช้าลง
4. รู้สึกปวดหลัง
5. มีปัญหาการนอนหลับ
6. รู้สึกปวดหัวตลอดเวลา
7. เดินช้าลง
ทีนี้ มาดู 7 สาเหตุที่ให้เรารู้สึกเหนื่อยล้าอ่อนเพลียได้
1. การอดนอน หรือ นอนไม่พอ แนะนําว่าผู้ใหญ่ควรนอนให้ได้อย่างน้อยวันละ 7 ชั่วโมง
2. ความเครียด แนะนําว่า ให้ออกกําลังกาย แช่น้ำอุ่น หรือนั่งสมาธิ
3. โรคต่าง ๆ ความรู้สึกเหนื่อยล้าอ่อนเพลียอาจเป็นผลมาจากโรค เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะพร่องไทรอยด์ โรคมะเร็ง โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรควิตกกังวล โรคไต ภาวะซึมเศร้า โรคเบาหวาน และภาวะปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นเรื้อรัง (fibromyalgia) เมื่อรักษาโรคดังกล่าวหาย อาการเหนื่อยล้ามักดีขึ้นและหายในที่สุด
4. การรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ แนะนําว่า ให้กินสารอาหารที่จําเป็นต่อการนอนหลับอย่างมีคุณภาพและช่วยความรู้สึกเหนื่อยล้า
5. การขาดสารอาหาร แนะนำว่า การตรวจเลือดสามารถประเมินได้ว่าอาการเหนื่อยล้านั้นเกิดจากการขาดสารอาหารหรือไม่ หากใช่ อาการจะดีขึ้นเมื่อร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ
6. การบริโภคคาเฟอีนมากเกินไป แนะนําว่า ควรลดการบริโภคคาเฟอีนและประเมินว่านอนหลับได้ดีขึ้นและรู้สึกสดชื่นหลังตื่นนอนหรือไม่
7. น้ำหนักตัวที่มากเกินไปหรือโรคอ้วน แนะนําว่า การรักษาน้ำหนักตัวที่เหมาะสมจะช่วยให้มีคุณภาพการนอนหลับที่ดีและรักษาระดับพลังงานในระหว่างวันป้องกันความเหนื่อยล้า
ภาวะเหนื่อยล้าเรื้อรัง เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต นิสัยการกิน และการรักษาอาการเจ็บป่วยสามารถช่วยทำให้อาการเหนื่อยล้าหายหรือดีขึ้นได้ แต่ถ้าหากรู้สึกเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของโรคและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมค่ะ
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเมดพาร์ค