ได้รับผลตอบดีมากๆ สำหรับโครงการช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นโครงการคนละครึ่ง โครงการเราชนะ โครงการม 33 เรารักกัน หรือจะเป็นโครงการเราผูกพัน ก็จะได้รับการตอบรับอย่างดีจากประชาชนแต่ละคุณสมบัติอย่างดีเยี่ยม
แต่ในแต่ละโครงการก็จะมีกลุ่มผู้ที่ไม่ได้รับเงินเยียวยาดังกล่าว ทางรัฐบาลจึงจัดหา เงื่อนไข เพื่อที่จะให้ กลุ่มที่ไม่ได้รับเงินพิเศษหรือเงินเยียวยาใดๆได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล
โดยล่าสุด น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังได้รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาในการเปิดรับลงทะเบียน ร่วมโครงการ เราชนะ ซึ่งนับว่าเป็นครั้งที่ 3 แล้วตามนโยบายของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
โดยสำหรับกลุ่มประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษซึ่งผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงอันได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพและผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองหรือออกจากที่พักอาศัยของตนได้แต่จำเป็นที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือ จากหน่วยงานรับลงทะเบียนเราชนะเคลื่อนที่ในระหว่างวันที่ 27 มีนาคม ถึง 9 เมษายน 2564
ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ในช่วงเวลาที่กำหนด จะได้ รับรู้ผลการคัดกรองคุณสมบัติตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2560 เป็นต้นไป ซึ่งผู้ที่ผ่านการคัดกรอง จะได้รับการโอน วงเงินสิทธิ์จำนวน 7,000 บาทและสามารถใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์ผ่านบัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด ได้ ที่ผู้ประกอบการ ร้านค้าหรือผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายนจนถึง 31 พฤษภาคม 2564
โดยน.ส.กุลยา ตันติเตมิท ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงความคืบหน้าโครงการ เราชนะ ซึ่งจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ประชาชนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้มีการใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นมาจำนวน 70, 942 ล้านบาทในจำนวนจำนวน 13.7 ล้านคน
2. ประชาชนที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลของแอปฯเป๋าตังค์ ในโครงการเราเที่ยวด้วยกันและคนละครึ่ง ตลอดไปถึงกลุ่มประชาชนทั่วไปที่ลงทะเบียนทางเว็บไซต์ เราชนะ ที่ผ่านคัดกรองคุณสมบัติเบื้องต้นและได้ยืนยันการใช้สิทธิ์ร่วมโครงการแล้ว ซึ่งมีการใช้จ่ายวงเงินสะสมตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นมา จำนวน 104,900 ล้านบาท จำนวนทั้งหมด 16.8 ล้านคน
3. กลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษที่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติเราชนะแล้ว จำนวนประมาน 2 ล้านคน มียอดใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สะสมตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2564 เป็นต้นมา จำนวน 11,206 ล้านบาท ทำให้มีผู้ได้รับสิทธิ์ในโครงการฯ แล้ว รวมทั้งสิ้น จำนวน 32.5 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนวนเป็นมูลค่าการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยแล้วกว่า 187,048 ล้านบาท ซึ่งเป็นการใช้จ่ายผ่านผู้ประกอบการร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นที่มีแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ร้านค้าคนละครึ่งที่ตกลงยินยอมเข้าร่วมโครงการฯ รวมถึงผู้ประกอบการร้านค้าและผู้ให้บริการที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้นมากกว่า 1.3 ล้านกิจการ