องค์การฯ ระบุว่า ราคาเมล็ดพืชและธัญพืช ซึ่งเป็นองค์ประกอบขนาดใหญ่ที่สุดในดัชนีราคาอาหารโลกลดลงร้อยละ 1.7 ในเดือนมีนาคม นับเป็นจุดสิ้นสุดของแนวโน้มราคาที่เพิ่มขึ้นระยะ 8 เดือน แต่ดัชนีย่อยยังคงสูงกว่าปีก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 26.5 ส่วนราคาข้าวสาลี, ข้าวโพด, ข้าวบาร์เลย์ และข้าวสารลดลงเช่นกัน แม้มีอุปสงค์ที่แข็งแกร่งจากประเทศจีนและอินเดีย
ขณะราคาน้ำตาลลดลงร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ แต่ยังคงสูงกว่าระดับของปีก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 30 อย่างไรก็ดี การลดลงของราคาอาหารเหล่านี้ไม่เพียงพอจะชดเชยราคาที่เพิ่มขึ้นของอาหารประเภทอื่น เนื่องจากราคาอาหารของดัชนีย่อยอื่นๆ ล้วนพุ่งสูงขึ้น ราคาผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ในเดือนมีนาคม หลังเกิดแรงกดดันจากปัญหาการขนส่งในยุโรปและอเมริกาเหนือ อีกทั้งความต้องการนมผงที่เพิ่มขึ้นในเอเชีย โดยเฉพาะจากจีน
ขณะเดียวกันราคาเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เนื่องจากมีความต้องการสัตว์ปีกและเนื้อหมูเพิ่มขึ้น ส่วนราคาน้ำมันพืชพุ่งขึ้นร้อยละ 8.0 แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2011
ทั้งนี้ ข้อมูลดัชนีราคาอาหารรายเดือนขององค์การ์ฯ อ้างอิงจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์อาหาร 23 ประเภททั่วโลก ซึ่งครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน 73 รายการเมื่อเทียบกับปีฐาน