หลังจากที่เป็นดราม่ามาอย่างยาวนานนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดระลอกที่สามที่ดูเหมือนว่าระลอกนี้จะรุนแรงขึ้นในทุกๆ วัน เนื่องจากตัวเลขได้พุ่งสูงขึ้นจนน่าตกในมากขึ้น อาทิความคืบหน้าประจำ วันเสาร์ที่ 24 เมษายน 2564 เวลา 11.30 น. พบมีผู้ป่วยรายใหม่ 2,839 ราย ทำให้ผู้ป่วยยืนยันสะสม 53,022 ราย หายป่วยแล้ว 30,566 ราย เสียชีวิตสะสม 129 ราย ซึ่งเพิ่มถึง 8 ราย
และประชาชนมักได้เห็นข่าวบ่อยๆ ว่ามีผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการรักาา เนื่องจากติดต่อไปหลายโรงพยาบาลแล้วแต่ทางโรงพยาบาลเหล่านั้นได้แจ้งให้ทราบว่า มีเตียงไม่เพียงพอบ้าง เตียงเต็มบ้าง จึงทำให้ผู้ป่วยหลายคนจำต้องกักตัวอยู่ที่บ้านเพื่อลดความเสี่ยงต่อการกระจายเชื้อต่อผู้อื่น
ทว่านั่นก็เป็นความเสี่ยงต่้อครอบครัวของผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ดี เนื่องจากบ้านของประชาชนแต่ละหลังมีลักษณะไม่เหมือนกัน และไม่อำนวยต่อการที่จะแยกกันได้ในเรื่องของการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อโควิด 19 จึงทำให้หลายครอบครัวติดเชื้อโควิดไปแบบไม่ตั้งใจ
บ้างก็รอจนมัจจุราชเข้ามาหาและพรากชีวิตไป สร้างความหดหู่ให้กับหลายๆ คนที่ได้รับข่าวสารอย่างมาก จึงได้มีข่าวคราวดราม่าให้ได้ยินอยู่บ่อยๆ ว่าถ้าเตียงมีเพียงพอ คุณหมอรักษาได้ทันท่วงที พวกเขาเหล่านั้นอาจจะรอด เหมือนกันคนที่มีชื่อเสียงหลายๆ ท่าน
ล่าสุดทางเพจ ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเตียงรองรับผู้ป่วยที่เป็นกระแสดราม่าอยู่ขณะนี้ว่า ที่จริงแล้ว เตียงรองรับผู้ป่วยนั้นมีเพียงพอหรือไม่ ซึ่งทางเพจได้ระบุว่า "รายงานสถานการณ์เตียงของประเทศ
รวมทั้งหมด 40,524 เตียง ครองเตียง 19,386 เตียงว่าง 21,138"
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
โดยแบ่งออกเป็น
1. เตียงว่างในห้องความดันลบแยกเดี่ยวจำนวน 295 เตียง
2. เตียงว่างในห้องความดันลบเตียงรวมจำนวน 679 เตียง
3. เตียงว่างในห้องแยกเดี่ยวไม่มีความดันลบจำนวน 3,349 เตียง
4. เตียงว่างในหอผู้ป่วยเฉพาะโควิดจำนวน 13,541 เตียง
5. เตียงว่างในโรงแรมที่ปรับเป็นโรงพยาบาลจำนวน 70 เตียง
และ 6. เตียงว่างในห้อง ICU ผู้ป่วยเฉพาะจำนวน 3,204 เตียง
ก่อนหน้านั้น นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธินยังกล่าวช่วงตอนหนึ่งอีกว่า ขออนุญาตพูดถึงตรงนี้เพื่อให้เข้าใจภาพรวมทั้งหมดของประเทศว่ายังไม่ถึงวิกฤตอย่างที่ว่า เมื่อวานที่พูดออกไปนั้นเป็นภาพของ กทม. ก็เลยทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนและเกิดความกังวลว่า เตียงขาดแคลน
จึงขอปรับชุดข้อมูลชุดนี้ เพิ่มเติมเข้าไปให้รับทราบ ว่าทาง ศบค. มีการจัดการกันอย่างไร ยืนยันจากรายงานสถานการณ์เตียงทั้งประเทศยังมีเพียงพอ แต่ที่มีปัญหาผู้ติดเชื้อยังไม่สามารถหาเตียงนั้น เนื่องจากขณะนี้ยังมีผู้ตกค้างอยู่จำนวน 2,013 ราย ซึ่งเป็นจำนวนมาก โดยกรมการแพทย์จะโทรศัพท์ติดต่อเพื่อเร่งส่งตัวทุกรายไปยัง รพ.สนาม และ hospitel จำนวน 4 แห่ง หากมีอาการรุนแรงจะส่งต่อไปยัง รพ. ซึ่งเตียงผู้ป่วยนั้นในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีจำนวน 16,422 เตียง ยังเหลือว่าง 5,347 เตียง