ฝ่ายไม่เห็นด้วย ก็มองว่าไม่เหมาะสม เพราะพระเครื่องเป็นของสูง เป็นสิ่งที่คนเคารพบูชา ไม่ควรนำมาใช้ทำเป็นของกิน เป็นต้น
ส่วนฝ่ายที่เห็นด้วยก็มองว่าเป็นเรื่องที่มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหาร และอีกอย่างพระเครื่องก็ไม่ใช่เครื่องเคารพทางศาสนา เป็นแค่ตัวแทนวัตถุที่จัดสร้างขึ้นมา โดยยกตัวอย่างในประเทศญี่ปุ่น มีการนำพระพุทธรูปมาทำเป็นขนมไทยากิ ปั้นเป็นช๊อคโกแลต รวมถึงประเทศอื่นๆที่ผสมผสานศาสนาเข้ากับวัฒนธรรมการกิน เป็นต้น
ซึ่งสำนักพุทธฯ ออกมาชี้แล้ว่าเป็นเรื่องที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ “ไม่เหมาะสม” โดยความเหมาะสม ก็ไม่ใช่บรรทัดฐานของข้อกฎหมาย
ล่าสุดก็นำกำลังเจ้าหน้าที่ทั้งทหาร ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่บ้านของแม่ค้าที่ทำขนมอาลัว ก็เข้าใจแหละว่าจะไปเยี่ยมไปดู แต่รู้สึกว่าจะเอิกเริกไปหน่อยนะครับท่าน
โดยเรื่องนี้ หากจะปรับบทข้อกฎหมาย คงจะต้องไปดูในประมวลกฎหมายอาญา “มาตรา ๒๐๖ ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ แก่วัตถุหรือสถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ในอดีตมีกรณีศึกษามีคนถูกดำเนินคดีขึ้นศาลฎีกากันอยู่บ้าง แต่เป็นลักษณะของการใช้เท้าเหยียบพระพุทธรูปและทำท่าทางล้อเลียน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2550
แต่นั่นก็เป็นการกระทำแก่วัตถุก็คือพระพุทธรูป ที่คนใช้กราบไหว้สักการะบูชา และเป็นที่เคารพในทางศาสนา โดยมีเจตนาเป็นการเหยียดหยาม
โดยส่วนตัวผมมองว่า "เรื่องนี้ไม่ผิดกฎหมายครับ" จริงอยู่ว่าพระเครื่องนั้นบางคนใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นวัตถุที่เป็นที่เคารพในทางศาสนาอย่างนึง แต่การกระทำของแม่ค้านั้น ยังไม่ถึงขั้นเหยียดหยามศาสนา หากลองคิดอีกมุม ด้วยใจที่เป็นธรรม บางคนที่ซื้อสินค้าของแม่ค้า อาจนำไปซื้อเก็บ หรือเป็นเครื่องเตือนสติบางอย่างก็ได้
เมื่อก่อนตอนกระแสจตุคามดังมากๆ พระพยอมท่านยังเคยทำคุกกี้จตุคามเตือนสติมาแล้วเลย เรื่องนี้จะไม่เป็นประเด็นอะไรเลย หากเราไม่ได้มองว่าพระเครื่องคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แตะต้องไม่ได้ บ้านเราก็แปลกอยู่อย่างเป็น “ประเทศที่ศักดิ์สิทธิ์ทุกอย่าง ยกเว้นกฎหมาย” #แล้วท่านล่ะมีความคิดเห็นอย่างไร
ที่มา : ทนายคู่ใจ