นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย เผยถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ให้ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเกษและสหกรณ์ ไม่พ้นจากตำแหน่ง ส.ส.และรัฐมนตรี เนื่องจากไม่ขาดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามการเป็น ส.ส.และ รัฐมนตรี
กรณีเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลแขวงรัฐนิวเซาท์เวลส์ ออสเตรเลีย ความผิดคดียาเสพติด เมื่อปี 2536 ว่า เคยมีความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกามีคำสั่ง ว่าหากถูกพิพากษาจำคุกในหรือต่างประเทศ ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป โดยพ้นโทษมาแล้วไม่ถึง 5 ปี ถือว่าเป็นบุคคลต้องห้าม ขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส. แต่กรณี ร้อยเอกธรรมนัสถูกตัดสินลงโทษจำคุกคดียาเสพติด ตั้งแต่ ปี 2536 และพ้นโทษ เมื่อปี 2540 ถือว่าพ้นโทษมาแล้วเกิน 5 ปี จึงถือว่าไม่ขาดคุณสมบัติตามกฎหมาย ส่วนการวิพากษ์วิจารณ์ ความเหมาะสม จริยธรรม ตนมองว่า ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งแล้วแต่จะวิจารณ์กัน
ส่วนจะยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. วินิจฉัยในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม หรือไม่ไม่ทราบ แต่ในข้อกฎหมาย ถือว่าสิ้นสุดตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ นายวิษณุ ยืนยันด้วยว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีนี้ถือเป็นบรรทัดฐานที่ใช้ได้กับทุกคนเพราะไม่เคยมีคำวินิจฉัยมาก่อน และใช้ได้กับความผิดทุกกรณีไม่เฉพาะแต่ความผิดคดียาเสพติดอย่างเดียว แต่ไม่ใช่การล้างมลทิน เพราะเป็นเรื่องคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ซึ่งอาจจะมีมลทินก็ได้
ส่วนที่เป็นประเด็นถกเถียงข้อกฎหมายในสังคม ศาลรัฐธรรมนูญ ควรจะทำคำชี้แจงกับสังคมหรือไม่นั้น ศาลรัฐธรรมนูญไม่จำเป็นต้องชี้แจงหรือพูดอะไรเพิ่มเติม เพราะได้วินิจฉัยจบแล้ว ส่วนผลทางวิชาการ ทางการเมือง แล้วแต่จะวิจารณ์กันไป
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย เผยถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ให้ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเกษและสหกรณ์ ไม่พ้นจากตำแหน่ง ส.ส.และรัฐมนตรี เนื่องจากไม่ขาดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามการเป็น ส.ส.และ รัฐมนตรี
กรณีเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลแขวงรัฐนิวเซาท์เวลส์ ออสเตรเลีย ความผิดคดียาเสพติด เมื่อปี 2536 ว่า เคยมีความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกามีคำสั่ง ว่าหากถูกพิพากษาจำคุกในหรือต่างประเทศ ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป โดยพ้นโทษมาแล้วไม่ถึง 5 ปี ถือว่าเป็นบุคคลต้องห้าม ขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส. แต่กรณี ร้อยเอกธรรมนัสถูกตัดสินลงโทษจำคุกคดียาเสพติด ตั้งแต่ ปี 2536 และพ้นโทษ เมื่อปี 2540 ถือว่าพ้นโทษมาแล้วเกิน 5 ปี จึงถือว่าไม่ขาดคุณสมบัติตามกฎหมาย ส่วนการวิพากษ์วิจารณ์ ความเหมาะสม จริยธรรม ตนมองว่า ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งแล้วแต่จะวิจารณ์กัน
ส่วนจะยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. วินิจฉัยในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม หรือไม่ไม่ทราบ แต่ในข้อกฎหมาย ถือว่าสิ้นสุดตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
นายวิษณุ ยืนยันด้วยว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีนี้ถือเป็นบรรทัดฐานที่ใช้ได้กับทุกคนเพราะไม่เคยมีคำวินิจฉัยมาก่อน และใช้ได้กับความผิดทุกกรณีไม่เฉพาะแต่ความผิดคดียาเสพติดอย่างเดียว แต่ไม่ใช่การล้างมลทิน เพราะเป็นเรื่องคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ซึ่งอาจจะมีมลทินก็ได้
ส่วนที่เป็นประเด็นถกเถียงข้อกฎหมายในสังคม ศาลรัฐธรรมนูญ ควรจะทำคำชี้แจงกับสังคมหรือไม่นั้น ศาลรัฐธรรมนูญไม่จำเป็นต้องชี้แจงหรือพูดอะไรเพิ่มเติม เพราะได้วินิจฉัยจบแล้ว ส่วนผลทางวิชาการ ทางการเมือง แล้วแต่จะวิจารณ์กันไป
ขอบคุณ Springnews