วันนี้ (16 พ.ค.2564) เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 23 ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุว่า
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 31 พ.ค. 2564 นั้น
โดยที่สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดโควิด ระลอกเดือนเม.ย. 2564 ได้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่พบในกลุ่มผู้สัมผัสผู้ป่วยยืนยันต่อเนื่องจากกลุ่มการแพร่ระบาดในสถานบันเทิง การเดินทางจากพื้นที่เสี่ยง และการติดเชื้อต่อเนื่องจากสถานที่เฉพาะกลุ่ม เช่น ชุมชนแออัด โรงงาน สถานที่พักของแรงงานต่างด้าว หรือตลาด ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้ป่วยสะสมเพิ่มขึ้น และมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก อันส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนโดยรวม ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้กำหนดมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดมาแล้วระยะหนึ่งอันเป็นกรณีที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อให้สถานการณ์แพร่ระบาดคลี่คลายโดยเร็ว จากการประเมินสถานการณ์คาดว่าแม้การระบาดจะยังคงมีอยู่อีกระยะหนึ่ง แต่จากการที่รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการตรวจคัดกรองเชิงรุกเพิ่มขึ้น ประกอบกับการเร่งรัดดำเนินการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน ซึ่งหากได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วนจะช่วยให้สถานการณ์มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นลำดับ จึงสมควรผ่อนคลายมาตรการควบคุมบางกรณี เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนเกินสมควร โดยกำหนดมาตรการควบคุมที่จำเป็นตามระดับของพื้นที่สถานการณ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด ในปัจจุบัน เพื่อให้การดำเนินชีวิตของประชาชนและการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับมาตรการด้านสาธารณสุข
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติขึ้นไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ข้อปฏิบัติในการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าอย่างถูกวิธีตามข้อแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข เมื่ออยู่นอกเคหสถานหรือเมื่ออยู่ในที่สาธารณะยังคงเป็นข้อปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่หรือรับเชื้อ
ข้อ 2 การกำหนดพื้นที่สถานการณ์ ปรับระดับการกำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำเนกตามขตพื้นที่สถานการณ์ ดังนี้
1) พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้พื้นที่กรุงทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ รวม 4 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
2) พื้นที่ควบคุมสูงสุด ให้พื้นที่จังหวัด รวม 17 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด
3) พื้นที่ควบคุม ให้พื้นที่จังหวัด รวม 56 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุมจังหวัดในเขตพื้นที่สถานการณ์ตาม 2) และ 3) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในบัญชีรายชื่อจังหวัดตามเขตพื้นที่สถานการณ์แนบท้ายข้อกำหนดนี้
ข้อ 3 มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ที่จำเป็นอย่างเร่งด่วน
สำหรับสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรม เพื่อให้สามารถเปิดดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบและ ระเบียบ รวมทั้งมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด
1) พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
ก. ร้านจำหน่ายอาหารหรือ เครื่องดื่ม ให้บริโภคอาหาร และเครื่องดื่มในร้านได้ไม่เกินวลา 21.00 น. โดยจำกัดจำนวนผู้นั่งบริโภคในร้านได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนที่นั่งปกติ ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีเอลกอฮอล์ในร้าน และให้จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในลักษณะของการนำไปบริโภคที่อื่นได้จนถึงวลา 23.00 น. ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบการจัดให้มีมาตรการคัดกรองผู้เกี่ยวข้อง การจัดระเบียบผู้เข้าใช้บริการ และการเว้นระยะห่างตามคำแนะนำและมาตรการที่ทางราชการกำหนด
ข. โรงรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภท ให้งดใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก และมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ ง่ายทำให้สี่ยงต่อการแพร่โรค เว้นแต่เป็นกรณีที่กำหนดไว้ในข้อ 1 แเห่งข้อกำหนด (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 16 เม.ย. 2564
2) พื้นที่ควบคุมสูงสุด
ก. ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้านได้ไม่เกินเวลา 23.00 น. โดยห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีเอลกอฮอส์ในร้าน ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบการจัดให้มีมาตรการคัดกรองผู้เกี่ยวข้อง การจัดระเบียบผู้ข้าใช้บริการ และการเวันระยะห่างตามคำแนะนำและมาตรการที่ทางราชการกำหนด
ข. โรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภท ให้สามารถใช้อาศารหรือสถานที่ เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากได้ โดยให้พิจารณาตามความจำเป็น และดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ซึ่งผู้ว่าราชการ กทม. หรือผู้ว่าราชการจังหวัด โดยคำเนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อ กทม.หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่จัด กิจกรรมและสถานการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบ
3) พื้นที่ควบคุม
ก. ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้านได้ภายในกำหนดเวลาปกติตามกฎหมายที่กี่ยวข้อง โดยห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน
ข. โรงรียนและสลาบันการศึกษาทุกประเภท ให้สามารถใช้อาคารสถานที่เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ได้ตามความเหมาะสมและความพร้อม โดยให้ดำเนินการตามคำแนะนำของทางราชการและมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยเละนวัตกรรม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี
ข้อ 4 แนวทางการปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัตีหรือการดำเนินการของบุคคล สถาน กิจการ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นไปตามงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบและระเบียบ รวมทั้งมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ในกรณีที่พบผู้ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ว่ากล่าวตักเตือนและสั่งให้ผู้นั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามให้ดำเนินการตามกฎหมายที่ กี่ยวข้องต่อไป
ข้อ 5 การเร่งรัดการฉีตวัดซีนเพื่อข้องกันโรคเพื่อบริหารจัดการสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด ที่กำหนดเป็นวาระแห่งชาติปรากฎผลเป็นรูปธรรมและประชาชน ได้รับประโยชน์โดยเร็ว ให้ ศปก.ศบค. ปฏิบัติการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเร่งรัด.ตรียมความพร้อม เละบูรณาการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนภารกิจในการกระจายและแจกจ่ายวัดซีน การลงทะเบียนรับวัคซีน การฉีดวัคซีน รวมทั้งการอื่นใดที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแเก่ประชาชนให้เข้ารับการฉีดวัคซีน เพื่อมุ่งลดจำนวนผู้ป่วยและให้เกิดภูมีคุ้มกันหมู่ในประเทศต่อไป โดยให้รายงานแผนการปฏิบัติงาน และผลการดำเนินงานดังกล่าวต่อนายกรัฐมนตรี เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
ข้อ 6 การป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในการกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดการระบาดของโรค รัฐบาลคเน้นย้ำเจตจำนงที่เด็ดขาดในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามบุคคลใดก็ตาม ที่มีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องกับการกระทำอันป็นเหตุให้เกิดการระบาดของโรค เช่น การมีส่วนร่วมกับขบวนการลักลอบเข้ามือง โดยมิได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบ การคัดกรองโรคและการกักกันตัว ตามมาตรการทางสาธารณสุข ซึ่งเป็นตันตอของการเป็นพาหะของโรคโควิด ชนิดกลายพันธุ์ จากภายนอกราชอาณาจักร และการเปิดบ่อนการพนันขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งป็นต้นตอของการระบาดของโรคแบบกลุ่มก้อนจนส่งผลกระทบอย่างรุนแรง
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง และพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ประสานการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดและเพิ่มความเข้มงวดในการปฏิบัติการกวดขัน สอดส่องและเฝ้าระวังพื่อป้องกันการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย รวมถึงการเปิดให้มีการมั่วสุมลักลอบเล่นการพนัน และให้ดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายเพื่อปราบปรามต่อไป
ข้อ 7 การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งให้หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณาดำเนินมาตรการขั้นสูงสุดเพื่อลดจำนวนการเดินทางของจ้าหน้าที่และบุคลากรที่อยู่ในความรับผิดชอบเพื่อป้องกัน และลดโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ เป็นระยะเวลาต่อเนื่องออกไปอีกอย่างน้อย 14 วัน ซึ่งอาจสั่งการให้ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง การลดจำนวนบุคคลที่ประจำอยู่สถานที่ตั้ง การสลับวันทำงาน หรือวิธีการอื่นใดตามความเหมาะสม โดยพิจารณาให้เพียงพอต่อภารกิจในการให้บริการประชาชน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป