7วิธีรับมือผมร่วงแบบอยู่หมัด พร้อมสาเหตุที่ทำให้ผมร่วง

25 พฤษภาคม 2564

เส้นผมเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่มีผลต่อบุคลิกภายนอกของเรา ซึ่งหนึ่งในปัญหาเกี่ยวกับเส้นผมที่ทำให้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายกลุ้มใจไม่น้อยก็คือ ปัญหาผมร่วงนั่นเอง

เส้นผมเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่มีผลต่อบุคลิกภายนอกของเรา ซึ่งหนึ่งในปัญหาเกี่ยวกับเส้นผมที่ทำให้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายกลุ้มใจไม่น้อยก็คือ ปัญหาผมร่วงนั่นเอง การเห็นเส้นผมที่เราตั้งใจหวีและบำรุงเช้าเย็นหลุดร่วงไปทีละน้อย ก็สามารถทำให้เรารู้สึกจิตตก และกังวลไปต่าง ๆ นานา อย่างไรก็ตาม การรู้สาเหตุของปัญหาสามารถช่วยให้คุณรับมือกับปัญหาผมร่วงได้อย่างเหมาะสมค่ะ แต่จะเกิดจากสาเหตุใดบ้างนั้น เราลองมาดูพร้อมกันเลยดีกว่า

 

1.ทานอาหารที่มีโปรตีนไม่เพียงพอ
การทานอาหารประเภทโปรตีนไม่เพียงพอเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผมหยุดเจริญเติบโต ผมร่วง และแม้แต่ทำให้เส้นผมเปลี่ยนสี อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงควรทานโปรตีนให้ได้อย่างน้อยวันละ 48 กรัม ซึ่งคุณสามารถพบโปรตีนได้ในอาหารหลายชนิดนอกเหนือจากเนื้อสัตว์ ตัวอย่างเช่น ไข่ อัลมอนด์ นม กรีกโยเกิร์ต ควินัว เป็นต้น

2.ทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ
คนที่ทานมังสวิรัติหรือคนที่พยายามจำกัดการทานเนื้อสัตว์อาจประสบปัญหาขาดธาตุเหล็ก ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดปัญหาผมร่วงได้ค่ะ ผู้หญิงที่มีอายุอยู่ในช่วง 19-50 ปี และ 51 ปีขึ้นไป ควรทานธาตุเหล็กให้ได้ 18 มิลลิกรัม และ 8 มิลลิกรัมต่อวันตามลำดับ สำหรับอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ผักโขม ถั่วเหลือง เลนทิล เมล็ดฟักทอง เครื่องในสัตว์ ฯลฯ

3.ความเครียด
หากคุณกำลังเครียด คุณคงต้องรีบหาวิธีคลายเครียดด่วน เพราะความเครียดสามารถทำให้แอนโดรเจนหรือฮอร์โมนเพศชายเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ผมร่วงได้ในที่สุด นอกจากนี้ความเครียดยังส่งผลต่อพฤติกรรมการทานอาหารของคุณ และทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานไม่ราบรื่น ซึ่งล้วนแต่ส่งผลเสียต่อเส้นผม

4.เพิ่งคลอดลูก
ร่างกายของคุณแม่เผชิญการเปลี่ยนแปลงมากมายตลอดระยะเวลาที่อุ้มท้อง โดยเฉพาะการที่ระดับของ                   ฮอร์โมนเอสโตรเจนเปลี่ยนไป ซึ่งมีส่วนทำให้ผมร่วงทั้งในระหว่างที่ตั้งครรภ์และหลังจากคลอดลูก โชคร้ายที่ไม่มีวิธีแก้ปัญหาแบบเร่งด่วนสำหรับปัญหาผมร่วงที่เกิดจากสาเหตุนี้ แต่สุดท้ายแล้วเส้นผมของคุณจะค่อย ๆ กลับมางอกตามปกติค่ะ

5.ต่อมไทรอยด์มีปัญหา
ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น รอบประจำเดือน อัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิของร่างกาย ฯลฯ หากต่อมไทรอยด์ของคุณมีปัญหา ก็จะส่งผลต่อสุขภาพได้หลายด้าน โดยรวมถึงเส้นผมของคุณ ไม่ว่าต่อมไทรอยด์จะทำงานมากหรือน้อยเกินไป ก็สามารถทำให้ผมร่วงได้ค่ะ อย่างไรก็ดี หากคุณกำลังเผชิญกับปัญหาผมร่วง ก็อาจไปพบแพทย์เพื่อตรวจต่อมไทรอยด์

6.อายุ
หากคุณอยู่ในช่วงวัยทองหรือกำลังจะเข้าสู่ช่วงดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายอาจส่งผลต่อเส้นผมของคุณเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เส้นผมจะแก่ขึ้นและบางลงเมื่อเราอายุมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการชราภาพที่ทุกคนต่างก็ต้องเผชิญ

7.ได้รับวิตามินบี 12 ไม่เพียงพอ
หากร่างกายของคุณได้รับวิตามินบี 12 ไม่เพียงพอ นอกจากคุณจะรู้สึกเหนื่อยและไม่มีแรงแล้ว ผมของคุณก็จะร่วงอีกด้วย อย่างไรก็ดี การขาดวิตามินบี 12 มักทำให้ผมร่วง เพราะสารอาหารชนิดนี้สามารถส่งผลต่อสุขภาพของเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งมีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อ อย่างไรก็ดี ปัญหาการขาดวิตามินบี 12 มักเกิดขึ้นในคนที่ทานมังสวิรัติ เพราะเราสามารถพบวิตามินบี 12 ได้ในโปรตีนจากสัตว์เท่านั้น

 

ปัญหาผมร่วงอาจเป็นเรื่องใหญ่สำหรับบางคน หากคุณกำลังเผชิญกับปัญหาดังกล่าว การทานอาหารที่มีสารอาหารที่ช่วยบำรุงเส้นผมอย่างโปรตีน ธาตุเหล็ก วิตามินซี วิตามินบี 12 วิตามินดี 3 คอปเปอร์ หรือซิลีเนียมก็สามารถช่วยได้ค่ะ นอกจากนี้คุณควรหาวิธีรับมือกับความเครียด เพราะอย่าลืมว่าสิ่งนี้ก็เป็นหนึ่งในต้นเหตุที่ทำให้ผมร่วงเช่นกัน ในกรณีที่เกิดจากปัญหาสุขภาพ คุณอาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะได้หาวิธีรักษาที่เหมาะสมต่อไป