สังคม

heading-สังคม

กรมสุขภาพจิต เผยผลสำรวจสุขภาพจิต พบกลุ่มขับรถรับจ้างเครียดสูงสุด

31 พ.ค. 2564 | 15:35 น.
กรมสุขภาพจิต เผยผลสำรวจสุขภาพจิต พบกลุ่มขับรถรับจ้างเครียดสูงสุด

กรมสุขภาพจิต เผยผลสำรวจสุขภาพจิตในสถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ พบคนไทยปรับตัวดีขึ้นกว่าปี 63 ขณะที่ผลสำรวจความเครียด พบกลุ่มขับรถสาธารณะรับจ้างมีอัตราสูงสุด.

วันนี้ (31 พ.ค.2564) แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต แถลงผลสำรวจสุขภาพจิตในสถานการณ์ระบาดระลอกใหม่ พบว่าคนไทยปรับตัวรับมือสถานการณ์ได้ดีมากขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2563 โดยพลังใจจากครอบครัวและคนใกล้ชิดยังเป็นปัจจัยสำคัญ และขณะนี้พบความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตสูงในกลุ่มแรงงานโดยเฉพาะกลุ่มรับจ้างขับรถสาธารณะ จึงจัดเวทีเสวนาระหว่างกรมสุขภาพจิตและผู้แทนกลุ่มแรงงานทั้งในและนอกระบบเพื่อทำความเข้าใจถึงปัญหาด้านสุขภาพจิตในกลุ่มวัยแรงงาน และบูรณาการการทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แพทย์หญิงพรรณพิมล กล่าวว่า กรมสุขภาพจิตได้ดำเนินการติดตามผลกระทบสถานการณ์โควิด 19 มาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มมีการระบาดในประเทศไทย พบว่าในภาพรวมของผลสำรวจ ความเครียด อาการซึมเศร้า ความเสี่ยงในการทำร้ายตนเอง มีการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่มีการระบาดของโควิด19 มากขึ้น แต่การปรับตัวสูงขึ้นของปัญหาด้านสุขภาพจิตในช่วงการระบาดของปี 2564 ยังไม่ถึงระดับเดียวกับช่วงที่มีการระบาดในช่วงเดือนมีนาคม 2563 ซึ่งสะท้อนว่าประชาชนส่วนหนึ่งมีพลังใจที่ดีมากขึ้น เริ่มมีการปรับตัวรับมือต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดได้ดีมากขึ้น

และเมื่อสำรวจพลังทางใจของคนไทยปี 2564 พบว่าปัจจัยด้านพลังใจที่คนไทยมีอยู่มากที่สุด คือการมีคนในครอบครัวและคนใกล้ชิดเป็นกำลังใจ รองลงมาเป็นการมองว่าการแก้ปัญหาทำให้เรามีประสบการณ์มากขึ้น และตามมาด้วยความสามารถในการจัดการปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ จากผลสำรวจยังพบอีกว่า สำหรับคนที่มีพลังใจลดน้อยลงจะทำให้รู้สึกว่าปัญหายากลำบากมากขึ้นและกังวลว่าจะเอาชนะปัญหานั้นไม่ได้

นอกจากนี้กรมสุขภาพจิตได้นำผลสำรวจล่าสุดมาจำแนกตามอาชีพ พบว่าระดับความเครียดมาก-มากที่สุด ในรายอาชีพกลุ่มรับจ้างขับรถสาธารณะมีอัตราสูงสุด (ร้อยละ 14.8) รองลงมาเป็น กลุ่มว่างงาน (ร้อยละ 8.8) และบุคลากรสาธารณสุข (ร้อยละ 6) ตามลำดับ ซึ่งอาชีพกลุ่มรับจ้างขับรถสาธารณะนี้ มีทั้งอาการซึมเศร้า (ระดับค่อนข้างมาก-มาก ที่ร้อยละ 7.4) และความเสี่ยงในการทำร้ายตนเอง (ระดับค่อนข้างบ่อย-เกือบทุกวัน ที่ร้อยละ 3.7) ซึ่งเป็นอัตราสูงที่สุดในทุกกลุ่มอาชีพอีกด้วย

แพทย์หญิงพรรณพิมล กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลกระทบที่สำคัญที่เราสังเกตได้จากผลรายงานล่าสุด คือผลกระทบด้านสุขภาพจิตที่มีต่อกลุ่มแรงงาน จึงเป็นที่มาของการประชุมหารือกับผู้แทนกลุ่มแรงงานในวันนี้ ที่จะช่วยทำให้กรมสุขภาพจิตสามารถดำเนินงานได้ตรงตามความต้องการของกลุ่มแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ และสื่อสารเรื่องการสร้างวัคซีนใจในองค์กรของวัยทำงาน เน้นการสร้าง "safe calm hope care" ในชุมชน องค์กร และสังคม จะช่วยให้ประชาชนมีมุมมองปัญหาเปลี่ยนไปในทางบวกมากขึ้น การที่แรงงานไทยมีสุขภาพจิตดีจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศชาติผ่านวิกฤตต่อไปได้

 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

เปิดสีเสื้อมงคลวันจันทร์ 21 เมษายน 2568 สายมูห้ามพลาดมีสีเดียว

เปิดสีเสื้อมงคลวันจันทร์ 21 เมษายน 2568 สายมูห้ามพลาดมีสีเดียว

เงินเดือนข้าราชการ 2568 เริ่มปรับฐานใหม่วันไหน ขึ้นกี่บาท

เงินเดือนข้าราชการ 2568 เริ่มปรับฐานใหม่วันไหน ขึ้นกี่บาท

"กัน จอมพลัง" ขอบคุณ "เต้" ที่ห่วงใย ยันไม่กลัว พร้อมลุยเคสต่อเอง

"กัน จอมพลัง" ขอบคุณ "เต้" ที่ห่วงใย ยันไม่กลัว พร้อมลุยเคสต่อเอง

สธ. เตือน ปี 68 ผู้ติดเชื้อ HIV ใหม่ใกล้หมื่น ดับแล้วกว่า 1 หมื่นราย

สธ. เตือน ปี 68 ผู้ติดเชื้อ HIV ใหม่ใกล้หมื่น ดับแล้วกว่า 1 หมื่นราย

สุดทน "บุ๋ม ปนัดดา" ฟาดเดือด หลังโดนแซะสร้างภาพยืนชี้นิ้ว

สุดทน "บุ๋ม ปนัดดา" ฟาดเดือด หลังโดนแซะสร้างภาพยืนชี้นิ้ว