การศึกษาดังกล่าวมีวิธีตรวจการนอนหลับ (PSG) โดยให้ผู้เข้าร่วมแต่ละรายที่นอนหลับในบ้านของตน ทำการทดสอบความสามารถในการรับรู้ ซึ่งนักวิจัยพบว่ารูปแบบการนอนหลับดังกล่าวอาจส่งผลเสียต่อความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน เช่น การขับรถ การเดิน และการทำสวน โดยนักวิจัยแนะนำให้ผู้เข้าร่วมกลุ่มนี้ซึ่งเป็นชายอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
เมื่อวันอาทิตย์ (30 พ.ค.) สื่อรายงานว่าแอนดริว วาคูลิน (Andrew Vakulin) ผู้เขียนนำของการศึกษาดังกล่าวระบุว่า “หากพฤติกรรมการนอนดังกล่าว เกิดขึ้นควบคู่กับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnoea) อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่รุนแรงยิ่งขึ้น นั่นคือการได้รับการวินิจฉัยน้อยกว่าที่ควรจะเป็น (under-diagnosed) และความสามารถในการรับรู้ที่ด้อยลงในช่วงเวลากลางวัน รวมไปถึงการจดจำและการมีสมาธิจดจ่อ”
“จำเป็นต้องมีการตรวจสอบระยะยาวต่อไปเพื่อหาความเชื่อมโยงระหว่างภาวะหยุดหายใจขณะหลับกับการเปลี่ยนแปลง ใน’ระดับจุลภาค’ ที่เกิดขึ้นกับรูปแบบการนอนหลับต่างๆ ในกลุ่มผู้สูงอายุ” เขากล่าว “อย่างไรก็ตาม บุคคลที่มีภาวะทั้งสองข้างต้น ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (GP) หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ หากอาการที่เป็นนั้นก่อให้เกิดความกังวล”
เจสส์ พาร์กเกอร์ (Jesse Parker) ผู้เขียนร่วมของการศึกษา กล่าวว่าผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากรูปแบบการนอนหลับของพวกเขามักถูกขัดจังหวะได้บ่อยครั้งกว่า
“พฤติกรรมการนอนหลับลึกที่น้อยลง และการนอนหลับตื้นที่เพิ่มขึ้น สัมพันธ์กับการตอบสนองที่ช้าลงของระบบการรับรู้” ปาร์กเกอร์กล่าว “แม้ว่าภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นจะไม่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการรับรู้ในหมู่ชายสูงวัยและอ่อนวัย แต่เราก็สังเกตพบว่าในหมู่ชายวัยตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มักจะมีพฤติกรรมการนอนหลับๆ ตื่นๆ”
ก่อนหน้านี้ ยังมีรายงานที่ระบุว่าการนอนหลับๆ ตื่นๆ มีส่วนเชื่อมโยงกับโอกาสที่เพิ่มขึ้นในการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งรังไข่ และมะเร็งต่อมลูกหมาก
ที่มา xinhuathai