การคาดหมาย ในช่วงวันที่ 8 – 13 มิ.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ประเทศเวียดนาม ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกระจาย กับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น บริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร และ บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 11 – 13 มิ.ย. 64 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย อย่างต่อเนื่อง
ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนงดออกจากฝั่ง
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 7 – 10 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
ส่วน ในช่วงวันที่ 11 – 13 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 – 40 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 7 – 10 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
ส่วน ในช่วงวันที่ 11 – 13 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 – 40 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-38 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ภาคกลาง ในช่วงวันที่ 7 – 10 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ส่วน ในช่วงวันที่ 11 – 13 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 – 30 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 8 – 10 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ส่วน ในช่วงวันที่ 11 – 13 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 – 40 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีในช่วงวันที่ 8 – 13 มิ.ย. 64 ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) ในช่วงวันที่ 8 – 13 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-45 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงวันที่ 7 – 10 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ส่วนในช่วงวันที่ 11 – 13 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20–30 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ออกประกาศ 7 มิถุนายน 2564