โดยระบุว่า ตั้งแต่เมื่อคืนแล้ว มีข่าวหนาหูว่าทหารบินไปฉีดไฟเซอร์ที่อเมริกา และมีงบลับคนละ 7หมื่น วันนี้ทางรองโฆษกรัฐบาลออกมาแก้ข่าวว่า ไม่จริง! ทหารไทยไม่ได้บินไปสหรัฐ เพื่อการฉีดเข็ม 3 แต่เป็นการเดินทางไปเพื่อร่วมฝึกกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ (Strategic Airborne Operation) ร่วมกันกองทัพบกสหรัฐ ณ Fort Bragge รัฐนอร์ทแคโรไลนา
มีประชาชนตั้งคำถามกันเยอะในเรื่องนี้ ร่วมถึงทวิตของคุณ processic ได้ตั้งขอสงสัยว่า บิน Qatar ไปลงดัลลัส (DFW) แวะฉีด Pfizer ที่ร้านขายยา Walgreens 7354 ที่อยู่ใกล้สนามบิน (เป็นของแถม ? )
แต่มาภารกิจฝึกโดดร่มที่ Fort Bragg มลรัฐ North Carolina จริงเหรอ ? คือห่างไป 1,900 km ทำไมไม่ลงสนามบินอื่น Atlanta ก็มีไฟลท์ ใกล้กว่าตั้งเยอะ หรือไม่ได้ไปภารกิจนี้
1. ภารกิจที่ NC แต่มาลงดัลลัสที่ห่างออกไป 1900 กม. ทำไมคะ ?
2. มีทหารในคณะนี้ ไปรับวัคซีนไฟเซอร์ที่อเมริกา จริงใช่มั้ยคะ ?
3. มีความจำเป็นแค่ไหน ? ในสถานการณ์แบบนี้ ที่ต้องใช้งบประมาณแผ่นดินในการไปร่วมฝึกกระโดดร่ม
ติดตามเรื่องนี้กันต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร
ด้าน พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก กล่าวชี้แจงกรณีปรากฎภาพการเดินทางไปสหรัฐของกำลังพล กองร้อยส่งทางอากาศ ที่เดินทางไปร่วมการฝึกกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ (Strategic Airborne Operation) กับ กองทัพสหรัฐ ที่ Fort Bragge รัฐนอร์ทแคโรไลนา ระหว่างวันที่ 10-26 ก.ค.นี้ ว่า เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าร่วมกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ภายใต้การฝึกร่วมผสมครอบบร้าโกลด์ในปี 2565 ซึ่งมีการกักตัวก่อนไปฝึกในค่ายทหาร และเมื่อไปถึงสหรัฐฯ ก็ปฏิบัติลักษณะเดียวกันตามระบบ Military Trainning Quarantine กำลังพลทุกนายผ่านการตรวจโควิด-19 ซึ่งได้ผลเป็นลบ และได้รับการฉีดวัคซีนที่ประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว
จากกรณีที่มีการโพสต์ภาพอ้างว่าทหารที่ได้ไปครั้งนี้ ได้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์นั้น ด้าน พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบภาพพบว่าเป็นภาพปลอม เพราะหากดูรายละเอียดวันเกิดในการ์ด ถ้าเกิดปี 1963 อายุน่าจะ 58 ปี ซึ่งทหารที่ไปไม่แก่ขนาดนั้น
ส่วนประเด็นเรื่องค่าตั๋วที่แพงและงบประมาณการใช้จ่ายที่โดนโจมตี พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ เผยว่า งบประมาณการฝึกร่วมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา