ต่างประเทศ

heading-ต่างประเทศ

นักดาราศาสตร์สมัครเล่น ค้นพบดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดี เพิ่มอีก 1 ดวง

13 ก.ค. 2564 | 09:15 น.
นักดาราศาสตร์สมัครเล่น ค้นพบดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดี เพิ่มอีก 1 ดวง

วันนี้ ( 13 กรกฎาคม 2564 ) ทางเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ รายงานว่า นักดาราศาสตร์สมัครเล่นค้นพบ #ดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดี เพิ่มอีก 1 ดวง! - ไทยนิวส์ออนไลน์

Kai Ly ผู้ค้นพบ 4 จาก 5 ดวงจันทร์ที่หายไปของดาวพฤหัสบดี (Lost jovian moons) เมื่อปีที่แล้ว ได้กลายเป็นนักดาราศาสตร์สมัครเล่นคนแรกที่ค้นพบดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดีดวงใหม่ หลังจากที่เขารายงานการค้นพบดังกล่าวไปยัง Minor Planet Mailing List เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา เพื่อตีพิมพ์ลงใน Minor Planet Electronic Circular ต่อไป หากได้รับการยืนยันจะส่งผลให้ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์บริวารรวม 80 ดวง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภารกิจค้นหาดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดีในครั้งนี้ Kai Ly เริ่มจากการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ที่บันทึกด้วยกล้องโทรทรรศน์แคนาดา - ฝรั่งเศส - ฮาวาย (CFHT) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหน้ากล้อง 3.6 เมตร ตั้งอยู่ในหอดูดาวเมานาเคีย โดยเลือกชุดข้อมูลที่ถ่ายช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ดาวพฤหัสบดีอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ส่งผลให้ดวงจันทร์บริวารสะท้อนแสงดวงอาทิตย์ได้มากที่สุดนั่นเอง

จากชุดข้อมูลของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 จำนวน 19 ภาพ พบวัตถุที่คาดว่าจะเป็นดวงจันทร์ทั้งหมด 3 วัตถุ กำลังเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วเชิงมุมประมาณ 13 ถึง 21 พิลิปดาต่อชั่วโมง หลังจากนั้นเขาได้ค้นหาวัตถุทั้งสามเพิ่มเติมจากชุดข้อมูลของวันที่ 25-27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 รวมทั้งใช้ข้อมูลที่บันทึกด้วยกล้องโทรทรรศน์ซูบารุ ในช่วงวันที่ 5 และ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 แต่กลับยืนยันได้เพียงแค่วัตถุเดียว นั่นก็คือวัตถุที่มีชื่อชั่วคราวในขณะนั้นว่า “EJc0061” อย่างไรก็ตามชุดข้อมูลดังกล่าวสามารถสร้างเส้นแนวโน้มและบ่งชี้ได้ว่าวัตถุดังกล่าวมีวงโคจรรอบดาวพฤหัสบดี

ดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดี เพิ่มอีก 1 ดวง

ภารกิจการค้นหาดวงจันทร์ดวงนี้สิ้นสุดลงด้วยการใช้ข้อมูลทั้งสิ้น 76 ชุด ครอบคลุมช่วงเวลากว่า 15.26 ปี (5,574 วัน) จากกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลกหลายตัว ได้แก่ กล้องโทรทรรศน์ซูบารุ และกล้องโทรทรรศน์ CFHT จากหอดูดาวเมานาเคีย รวมถึงกล้องโทรทรรศน์จากหอดูดาวเซอร์​โรโทโลโล อินเตอร์อเมริกัน ซึ่งเพียงพอสำหรับการยืนยันว่าดวงจันทร์ดังกล่าวมีอยู่จริง จากการศึกษาพบว่าดวงจันทร์ดวงนี้มีค่าอันดับความสว่างประมาณ 23.2 - 23.5 และมีคาบการโคจรรอบดาวพฤหัสบดีประมาณ 1.9 ปี

ด้วยฐานข้อมูลที่เปิดกว้างจากหลากหลายแหล่ง เช่น Canadian Astronomical Data Center's Solar System Object Image Search, Minor Planet Center และ Aladin Sky Atlas รวมถึงซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่ช่วยในการคำนวณ เช่น Find_Orb orbit determination software ช่วยเปิดโอกาสให้นักดาราศาสตร์สมัครเล่นได้ค้นพบสิ่งที่ยิ่งใหญ่ด้วยตนเอง เพียงแค่ต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจในสิ่งที่ทำ และอดทนกับข้อมูลมหาศาล แต่สุดท้ายแล้วก็จะได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่าเหมือนกับ Kai Ly นักดาราศาสตร์สมัครเล่นคนนี้แน่นอน

บรรยาภาพ : ภาพแสดงวงโคจรดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดีที่ได้รับการยืนยันจากสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ ทั้งหมด 79 ดวง (ยังไม่รวมดวงที่ค้นพบล่าสุด) จะเห็นว่าดวงจันทร์ที่มีวงโคจรใกล้กับดาวพฤหัสบดี (วงโคจรสีม่วงและสีน้ำเงิน) จะโคจรในทิศทางเดียวกับการหมุนรอบตัวเองของดาวพฤหัสบดี ส่วนดวงจันทร์ที่มีวงโคจรอยู่ห่างจากดาวพฤหัสบดี (วงโคจรสีแดง) จะโคจรในทิศทางตรงกันข้ามกับการหมุนรอบตัวเองของดาวพฤหัสบดี ยกเว้นดวงจันทร์ Valetudo (วงโคจรสีเขียว) ที่ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2561 ที่โคจรในทิศทางเดียวกับการหมุนรอบตัวเองของดาวพฤหัสบดี

ที่มา NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

เจ้าสาวช้ำ แม่หอบเงินสินสอด หนีไปกับเจ้าบ่าว ก่อนถึงพิธีแต่งงาน

เจ้าสาวช้ำ แม่หอบเงินสินสอด หนีไปกับเจ้าบ่าว ก่อนถึงพิธีแต่งงาน

งูดำเข้าบ้าน ขดตัวแน่น ก่อนค่อยๆ ชูคออยู่ซอกข้างเตียงนอน

งูดำเข้าบ้าน ขดตัวแน่น ก่อนค่อยๆ ชูคออยู่ซอกข้างเตียงนอน

หนุ่มลั่นไก แฟนสาวดับพร้อมลูกในท้อง พยานเผยทะเลาะหนักก่อนเหตุ

หนุ่มลั่นไก แฟนสาวดับพร้อมลูกในท้อง พยานเผยทะเลาะหนักก่อนเหตุ

ส่องโพสต์ "น้องสาวโตโน่" เคลื่อนไหวถึง "ณิชา" ท่ามกลางดราม่าร้อน

ส่องโพสต์ "น้องสาวโตโน่" เคลื่อนไหวถึง "ณิชา" ท่ามกลางดราม่าร้อน

ดับยกครัว เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกลงในแม่น้ำ รู้ว่าเป็นใครยิ่งใจหาย

ดับยกครัว เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกลงในแม่น้ำ รู้ว่าเป็นใครยิ่งใจหาย