หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ราชกิจจานุเบกษาประกาศล่าสุดให้ยกระดับล็อกดาวน์ และประกาศเพิ่มจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มเป็น 13 จังหวัด ประกอบไปด้วยใจกลางกรุง คือ 1. กรุงเทพมหานคร 2. จังหวัดสมุทรสาคร 3. จังหวัดนครปฐม 4. จังหวัดนนทบุรี 5. จังหวัดปทุมธานี 6. จังหวัดสมุทรปราการ 4 จังหวัดภาคใต้ 7.จังหวัดนราธิวาส 8. จังหวัดปัตตานี 9. จังหวัดยะลา 10. จังหวัดสงขลา 3 จังหวัดใหม่ 11. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 12. จังหวัดชลบุรี 13. จังหวัดฉะเชิงเทรา
โดยจากประกาศดังกล่าวจะเริ่มจริงจังขึ้นในวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 ซึ่งหลังจากที่เพิ่ม 3 จังหวัดเป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดแล้ว ยังมีมาตรการขอความร่วมมือและงดการทำกิจกรรม หรือ เปิดกิจการต่างๆ ที่อาจเป็นแหล่งสะสมหรือแพร่กระกาจเชื้อไวรัสโควิดได้ง่าย วันนี้ทีมข่าวไทยนิวส์ ขอสรุปให้ทำความเข้าใจง่ายๆ ว่า อะไรทำได้ - หรือไม่ได้บ้าง
การออกนอกเคหะสถาน
- พื้นที่เสี่ยงสูงและพื้นที่ควบคุมสูงสุดสีแดงเข้มขอให้ งดเว้นภารกิจที่จะต้องเดินทางออกนอกบ้าน หรือเคหะสถานโดยไม่จำเป็น
ข้อยกเว้น
- สามารถออกไปหาเครื่องอุปโภคบริโภคหรือเครื่องดำรงชีวิตได้ อาทิ อาหาร ยารักษาโรค และเวชภัณฑ์
- ไปหาหมอ หรือ เข้ารับบริการทางการแพทย์และสาธารสุขได้
- การรักษาพยาบาล รับวัคซีนได้
- มีความจำเป็นเพื่อปฏิบัติงาน/ประกอบอาชีพที่ไม่สามารถทำนอกสถานที่ตั้งได้สามารถทำได้ แต่ต้องระมัดระวังในการป้องกันตนเอง และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด
มาตรการสำหรับผู้ประกอบการ
- ให้ปิดศูนย์การค้า ปิดห้างสรรพสินค้า หรือ คอมมูนิตี้มอลล์ ตั้งแต่วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม ซึ่งสิ่งที่เปิดได้จะมีแค่ ซูเปอร์มาร์เกต, ร้านขายยา, ฉีดวัคซีน ที่จะเปิดได้ถึง 2 ทุ่ม ร้านหรือกิจการต่างๆ ในห้างฯ นอกเหนือจากนี้ปิดทั้งหมด
- กิจการนอกห้างที่เปิดได้ตามปกติ คือ โรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิกแพทย์รักษาโรค ร้านขายยา ร้านค้าทั่วไป โรงงาน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกรรมการเงิน ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ไปรษณีย์และพัสดุภัณฑ์ ร้านจำหน่ายอาหารสัตว์ ร้านขายยาและเวชภัณฑ์ ร้านจำหน่ายเครื่องมือช่างและอุปกรณ์ก่อสร้าง (กรณีเป็นร้านขนาดเล็ก ไม่ใช่ลักษณะเป็นศูนย์การขายอุปกรณ์ก่อสร้าง)
- การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม สามารถเปิดร้านได้ถึงเวลา 20.00 น. โดยห้ามการบริโภคในร้าน ให้ดำเนินการเฉพาะกลับไปบริโภคที่อื่นเท่านั้น
- โรงแรม เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติ โดยให้งดกิจกรรมการจัดประชุม การสัมมนา หรือการจัดเลี้ยง
- ร้านสะดวกซื้อและตลาดสด ให้เปิดได้ถึงเวลา 20.00 น. โดยจำกัดเวลาสำหรับร้านสะดวกซื้อให้ปิดบริการระหว่างเวลา 20.00 - 04.00 น.
- โรงเรียน สถาบันการศึกษาหรือฝึกอบรม และสถานศึกษาต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้ประกาศไว้แล้วก่อนหน้านี้
สำหรับร้านจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จําเป็น หรือ สถานที่จําหน่ายแก๊สหุงต้ม เชื้อเพลิง ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส รวมทั้งบริการส่งสินค้าและอาหารตามสั่ง (delivery online) ยังคงเปิดดําเนินการได้ ตามความจำเป็น โดยให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโควิด
อย่างไรก็ตาม นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน หมอโฆษกยังได้กำชับอีกว่า ประกาศดังกล่าวยังสอดคล้องกับการประกาศเคอร์ฟิวและล็อคดาวน์กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้คือ ห้ามบุคคลในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ออกนอกเคหสถานในระหว่างเวลา 21.00 น. ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้นต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หากฝ่าฝืนจะมีโทษตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews