จากกรณีที่ทางศบค.ชุดใหญ่ได้มีมติเห็นชอบประกาศให้เพิ่มพื้นที่สีแดงเข้มควบคุมสูงสุดเป็น 29 จังหวัด ได้แก่ นครนายก , กาญจนบุรี , นครราชสีมา , ตาก , ประจวบคีรีขันธ์ , ปราจีนบุรี , เพชรบุรี , เพชรบูณ์ , ระยอง , ราชบุรี , ลพบุรี , สมุทรสงคราม , สิงห์บุรี , สระบุรี , สุพรรณบุรี และ อ่างทอง พร้อมทั้งประกาศมาตรการในการควบคุมการกระจายของโรคให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของประชาชน และมีข่าวว่ากระทรวงแรงงาน จะมีการเสนอ ครม. ให้จ่ายเงินเยียวยาผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวเพิ่มเติม อีก 1 เดือน
ล่าสุดมีรายงานว่าครม.มีมติเห็นชอบเยียวยากลุ่มแรงงาน ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 29 จังหวัด เพิ่มเงินช่วยเหลือจาก 30,000 ล้านบาท เป็น 60,000 ล้านบาท ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ผู้ที่ได้รับเงินเยียวยาคือ ผู้ที่อยู่ใน 29 จังหวัดสีแดงเข้ม ทั้งหมด และทำงานอยู่ในกิจการ 9 หมวด ได้แก่ กิจการก่อสร้าง, กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร,กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ, กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ , สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า , สาขาขายส่งและการขายปลีก , สาขาการซ่อมยานยนต์ , สาขากิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุนวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ , สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร , กลุ่มผู้ประกอบการในระบบถุงเงิน ภายใต้โครงการคนละครึ่ง และเราชนะ ที่ผ่านการคัดกรอง และไม่เป็นผู้ถูกตัดสิทธิจากกระทรวงการคลัง 5 กลุ่ม
แต่ละกลุ่มจะได้รับเงินเยียวยาดังนี้
ประกันสังคมจ่ายเงินเยียวยาผู้ประกันตน ม.33 จำนวน 50% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท และรัฐบาลจ่ายเพิ่มเติมให้ลูกจ้างสัญชาติไทย 2,500 บาทต่อคน ทำให้จะได้รับเงินสูงสุด 10,000 บาทต่อคน
หากท่านเป็นผู้ประกันตน ม.33 กิจการเข้าข่ายรับผลกระทบ แต่ไม่ถูกปิด ท่านจะได้รับเงินเยียวยา 2,500 บาท แต่หากกิจการถูกปิด ท่านจะได้รับเงินเยียวยาเพิ่มเติมอีก 7,500+2,500 = 10,000 บาท
นายจ้างในระบบประกันสังคม ตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาทต่อหัว สูงสุดไม่เกิน 200 คน ผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 จะได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 5,000 บาท
ทั้งนี้เงื่อนไขอีกข้อหนึ่งคือ ผู้ที่อยู่ในกลุ่ม 13 จังหวัดเดิม จะได้รับเงินเยียวยาช่วยเหลือ 2 เดือน คือ กรกฎาคม และสิงหาคม ส่วนผู้ที่อยู่ในกลุ่ม 16 จังหวัดเพิ่มเติม จะได้รับเงินเยียวยาเฉพาะเดือน สิงหาคม เป็นเวลา 1 เดือน