วันโอนเงินเยียวยา ม.39 ม.40 ทั้ง 29 จว. ประกันสังคม ขยายเวลา ม.40 จ่ายเงินสมทบ

12 สิงหาคม 2564

หลังจากเมื่อวันที่ 10 ส.ค. ที่ผ่านมา ครม. ครม. อนุมัติวงเงิน 33,471 ล้านบาท เยียวยาผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40 ในพื้นที่ 29 จังหวัด

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้เห็นชอบกรอบวงเงิน 33,471.0050 ล้านบาท เยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ในพื้นที่ 29 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐตามข้อกำหนดฯ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยช่วยเหลือค่าครองชีพคนละ 5,000 บาท รวมทั้งสิ้น 6,694,201 คน โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
 
พื้นที่ดำเนินการ 29 จังหวัด ได้แก่ 
1.กรุงเทพมหานคร 2.นครปฐม 3.นนทบุรี 4.ปทุมธานี 5.สมุทรปราการ 6.สมุทรสาคร 7.นราธิวาส 8.ปัตตานี 9.ยะลา 10.สงขลา 11.ฉะเชิงเทรา 12.ชลบุรี 13.พระนครศรีอยุธยา 14.นครราชสีมา 15.ระยอง 16.ราชบุรี 17.สระบุรี 18.สุพรรณบุรี 19.กาญจนบุรี 20.ลพบุรี 21เพชรบูรณ์ 22.ประจวบคีรีขันธ์ 23.ปราจีนบุรี 24.เพชรบุรี 25.ตาก 26.อ่างทอง 27.นครนายก 28.สมุทรสงคราม 29.สิงห์บุรี

29 จังหวัด

 

 

คุณสมบัติของกลุ่มเป้าหมาย  
เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่มีสัญชาติไทย สถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ในฐานทะเบียนประกันสังคมที่มีสถานะ A (Active) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด) หรือ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 16 จังหวัด) กรณีเป็นผู้สมัครเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในฐานทะเบียนประกันสังคมที่มีสถานะรอชำระเงิน W (Wait) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564  ทั้งนี้ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ต้องไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39  และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ต้องไม่เป็นข้าราชการหรือผู้รับบำนาญของกรมบัญชีกลาง
 
วิธีการจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 
จะโอนเงินให้กับผู้ประกันตนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) เฉพาะที่ผูกบัญชีกับเลขประจำตัวประชาชน

ม.39 ม.40

 

โดยเมื่อวานนี้ (11 ส.ค.) นางสาว ลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม ได้ให้สัมภาษณ์สดผ่านทางโทรศัพท์ รายการเนชั่นทันข่าวค่ำ เวลา 18.10 น. ถึงการโอนเงินเยียวยา ประกันสังคม ผู้ประกันตน มาตรา 39 มาตรา 40  ว่า จะโอนให้กับ 13 จังหวัดก่อน ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ทั้งนี้ สำหรับ ม.40 พื้นที่ 16 จังหวัด ขยายเวลารับสมัครและชำระเงินได้ถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2564 โดยจะจ่ายเงินเยียวยาตามไปให้ภายหลังจากนี้

 

สำหรับคุณสมบัติและเงื่อนไขผู้ประกันตน มาตรา 39 ดังนี้
- ลาออกจากการเป็นพนักงานเอกชนแล้ว
- เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
- ส่งเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน
- ลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน

ผู้ประกันตน มาตรา 39 สามาตรวจสอบสิทธิได้ที่เว็บไซต์ https://www.sso.go.th/

ม.39

- กรอกเลขบัตรประชาชน
- กรอกรหัสให้ตรงกับรูปภาพ
- กดค้นหา

ม.39

โดยประกันสังคมขยายเวลารับสมัครและชำระเงินได้ถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2564 คุณสมบัติของผู้สมัคร ผู้ประกันตน มาตรา 40 ดังนี้ 
- สัญชาติไทย
- อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
- เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ
- ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน (ม.33)
- ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (ม.39)
- ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
- ผู้ถือบัตรประชาชนคนไม่มีสัญชาติไทย ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้น 00)
- ผู้พิการที่สามารถรับรู้สิทธิสมัครได้

สมัคร ม.40

ช่องทางการจ่ายเงินสมทบ ฟรีค่าธรรมเนียมทุกช่องทาง
- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารกรุงศรี 
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- ตู้บุญเติม
- ห้างเทสโก้โลตัส
- บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์
- ช้อปปี้ เพย์

ทางเลือกที่ 1 : จ่าย 70 บาท / เดือน (จ่ายอัตราใหม่เป็น 42 บาท/เดือน)
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 30 วัน / ปี 
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ครั้งละ 50 บาท

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = เป็นเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 8,000 บาท

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = ไม่คุ้มครอง
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครอง 
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ไม่คุ้มครอง
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = ไม่คุ้มครอง 

ทางเลือกที่ 2 : จ่าย 100 บาท / เดือน (จ่ายอัตราใหม่เป็น 60 บาท/เดือน)
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 30 วัน / ปี 
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ครั้งละ 50 บาท

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = เป็นเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 8,000 บาท

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = 50 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครอง 
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = ไม่คุ้มครอง 

ทางเลือกที่ 3 : จ่าย 300 บาท / เดือน (จ่ายอัตราใหม่เป็น 180 บาท/เดือน)
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 90 วัน / ปี 
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ไม่คุ้มครอง

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = ตลอดชีวิต
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 50,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 50,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครอง

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = 150 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 10,000 บาท
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = คนละ 200 บาท (คราวละไม่เกิน 2 คน)

สมัคร ม.40

เงินเยียวยาที่จะได้รับ
- 5,000 บาท

หลักฐานการสมัคร
- ใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวเท่านั้น

ช่องทางการรับเงินเยียวยาประกันสังคม
- ผ่านระบบพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชนเท่านั้น

 

ช่องทางการลงทะเบียนพร้อมเพย์กับธนาคารด้วยเลขบัตรประชาชน
- ธนาคารกรุงไทย คลิกที่นี่

ธนาคารกรุงไทย

 

- ธนาคารออมสิน คลิกที่นี่

ธนาคารออมสิน

 

- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร คลิกที่นี่

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  

 

- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ คลิกที่นี่

ธนาคารอาคารสงเคราะห์

 

- ธนาคารกสิกรไทย คลิกที่นี่

ธนาคารกสิกรไทย

ธนาคารกสิกรไทย

 

- ธนาคารไทยพาณิชย์ คลิกที่นี่

ธนาคารไทยพาณิชย์

ธนาคารไทยพาณิชย์

 

- ธนาคารกรุงเทพ คลิกที่นี่

ธนาคารกรุงเทพ

 

- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา คลิกที่นี่

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

 

- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย คลิกที่นี่

ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย

 

- ธนาคารทหารไทยธนชาต คลิกที่นี่

ธนาคารทหารไทยธนชาต