อัพเดทมาตรการแจกเงินเยียวยาให้ แรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการ “ล็อกดาวน์” ในพื้นที่สีแดงเข้ม สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 39 และ มาตรา 40
เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 64 ที่ผ่านมา นางสาวลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้กล่าว ในรายการสัมภาษณ์สดทางสถานีประกันสังคมในหัวข้อ "เยียวยาผู้ประกันตน มาตรา 39 และ มาตรา 40" (5,000 บาท) โดยระบุว่า สำนักงานประกันสังคมจะทยอยโอนเงินเยียวยาจำนวน 5,000 บาท ให้กับผู้ประกัน ม.39 พื้นที่สีแดงเข้มจำนวน 13 จังหวัดก่อน ในวันที่ 23 ส.ค.นี้ ซึ่งมีผู้ประกันตนอยู่จำนวน 1.7 ล้านคน พร้อมกันนี้ยังขอให้ประชาชนไปผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชน เพราะถ้าไม่ผูกจะทำให้ไม่สามารถโอนเงินได้
ส่วนผู้ประกันตน ม.40 ประกันสังคมจะเริ่มโอนเงินในช่วงวันที่ 24-26 ส.ค.นี้ โดย 13 จังหวัดแรกได้รับเงินก่อน ถัดจากนั้น 16 จังหวัดสีแดงเข้ม
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่จะได้รับเงินเยียวยาในวันที่ 24-26 ส.ค. 64 มี 2 กลุ่มดังนี้
1.ผู้ประกันตนในจังหวัด 10+3 (ฉะเชิงเทรา,ชลบุรี,อยุธยา) จังหวัดสีแดงเข้ม ที่มีสถานะเป็นผู้ประกันตนและจ่ายเงินสมทบภายใน 31 ก.ค. 64 หรือสมัครภายใน 31 ก.ค. 64 และชำระเงินสมทบงวดแรกภายใน 10 ส.ค. 64
2.กลุ่ม 16 จังหวัดสีแดงเข้มที่สมัครและจ่ายเงินสมทบงวดแรกภายใน 3 สิงหาคม 2564 จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี อยุธยา ที่สมัครช่วงวันที่ 4-24 ส.ค. 64 รอระบบประมวลผลวันจ่ายที่ชัดเจนอีกครั้ง
สำหรับ ฟรีแลนซ์ อาชีพอิสระ ยังไม่เป็นผู้ประกันตน สมัคร ม.40 สามารถสมัครและรีบจ่ายเงินสมทบงวดแรกภายในวันที่ 24 ส.ค.64 เพื่อรับสิทธิ
คุณสมบัติของผู้สมัคร ผู้ประกันตน มาตรา 40 ดังนี้
- สัญชาติไทย
- อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
- เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ
- ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน (ม.33)
- ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (ม.39)
- ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
- ผู้ถือบัตรประชาชนคนไม่มีสัญชาติไทย ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้น 00)
- ผู้พิการที่สามารถรับรู้สิทธิสมัครได้
ช่องทางการจ่ายเงินสมทบ ฟรีค่าธรรมเนียมทุกช่องทาง
- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารกรุงศรี
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- ตู้บุญเติม
- ห้างเทสโก้โลตัส
- บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์
- ช้อปปี้ เพย์
ทางเลือกที่ 1 : จ่าย 70 บาท / เดือน (จ่ายอัตราใหม่เป็น 42 บาท/เดือน)
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 30 วัน / ปี
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ครั้งละ 50 บาท
2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = เป็นเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 8,000 บาท
4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = ไม่คุ้มครอง
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครอง
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ไม่คุ้มครอง
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = ไม่คุ้มครอง
ทางเลือกที่ 2 : จ่าย 100 บาท / เดือน (จ่ายอัตราใหม่เป็น 60 บาท/เดือน)
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 30 วัน / ปี
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ครั้งละ 50 บาท
2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = เป็นเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 8,000 บาท
4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = 50 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครอง
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = ไม่คุ้มครอง
ทางเลือกที่ 3 : จ่าย 300 บาท / เดือน (จ่ายอัตราใหม่เป็น 180 บาท/เดือน)
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 90 วัน / ปี
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ไม่คุ้มครอง
2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = ตลอดชีวิต
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 50,000 บาท
3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 50,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครอง
4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = 150 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 10,000 บาท
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = คนละ 200 บาท (คราวละไม่เกิน 2 คน)
เงินเยียวยาที่จะได้รับ
- 5,000 บาท
หลักฐานการสมัคร
- ใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวเท่านั้น
ช่องทางการรับเงินเยียวยาประกันสังคม
- ผ่านระบบพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชนเท่านั้น
ช่องทางการลงทะเบียนพร้อมเพย์กับธนาคารด้วยเลขบัตรประชาชน
- ธนาคารกรุงไทย คลิกที่นี่
- ธนาคารออมสิน คลิกที่นี่
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร คลิกที่นี่
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ คลิกที่นี่
- ธนาคารกสิกรไทย คลิกที่นี่
- ธนาคารไทยพาณิชย์ คลิกที่นี่
- ธนาคารกรุงเทพ คลิกที่นี่
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา คลิกที่นี่
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย คลิกที่นี่
- ธนาคารทหารไทยธนชาต คลิกที่นี่