เห็นทีว่าวัคซีนที่ดีที่สุดคงจะเป็นทางรอดเดียวที่ทำให้ประชาชนคนไทยรอดพ้นจากมัจจุราชที่ได้ชื่อว่า โควิด 19 เนื่องจากแม้วัคซีนที่ดีนั้นจะไม่การันตีว่าป้องกันการติดเชื้อได้ แต่วัคซีนสามารถลดอัตราการเสียชีวิตลงได้อย่างดี ยกตัวอย่างชาติสหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาที่ก่อนหน้านี้เกิดการระบาดอย่างหนักในทุกๆ รัฐ ทำให้ต้องสูญเสียพลเมืองหลักแสนรายต่อวัน แต่ล่าสุดสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้เหลือเพียงหลักร้อย
เกี่ยวกับเรื่องนี้ประเทศไทยยังคงต้องรับมือกับทุกๆ ทางที่เกี่ยวกับโรคระบาดนี้ เนื่องจากยังมีอัตราผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นมากในแต่ละวัน ซึ่งล่าสุดพบว่าผู้ป่วยโควิดล่าสุดเพิ่มขึ้นอีก 20,128 ราย เสียชีวิตเพิ่มอีก 239 ราย จนล่าสุดมีผู้ป่วยสะสมแตะ 1 ล้านรายแล้ว ซึ่งหลายๆ นักวิชาการลงความเห็นว่าเดือนสิงหานี้น่าจะทะลุมากกว่า 1.5 ล้านรายภายในครึ่งเดือน
ดังนั้นวัคซีนจึงเป็นทางออกเดียว ล่าสุดทางศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศบค.ได้เปิดเผยถึงแผนการสั่งวัคซีนเข้าประเทศไทย ซึ่งที่ประชุม ศบค.เห็นชอบ แผนจัดหาจัดซื้อวัคซีน ที่เสนอโดย กระทรวงสาธารณสุข ที่จะสั่งนำเข้าวัคซีนในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2564 เพื่อนำมาใช้ในช่วงที่ระยะเวลาที่มีวัคซีนจำกัดเพิ่มเติม เนื่องจากปัญหากลายพันธุ์เดลตา ทำให้วัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้น้อย จึงควรเร่งการฉีดวัคซีนเพื่อเพิ่มความครอบคลุมในทุกกลุ่มเป้าหมาย
เป้าหมายของ ศบค. ลงความเห็นว่า ต้องได้ 100 โดส ใน พ.ศ.2564 ซึ่งได้มอบหมายให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ จองซื้อวัคซีนไฟเซอร์ เพิ่มเติมอีกจำนวน 10 ล้านโดส พร้อมกันนี้ยังมอบหมายให้เจรจาจัดหาวัคซีนอื่นๆ เข้ามาเพิ่มเติมอีกจำนวน 10 ล้านโดส ภายในปี 2564 รวมไปถึงได้มอบหมายให้องค์การเภสัชกรรม จัดหาวัคซีนซิโนแวคเข้ามาเพิ่มเติมอีกจำนวน 12 ล้านโดส
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
โดยรายละเอียดความคืบหน้าการสั่งนำเข้าวัคซีนยี่ห้อต่างๆ มีดังต่อไปนี้
1. สั่งจอง วัคซีนแอสตราเซนเนกา (AstraZeneca) จำนวน 61 ล้านโดส ซึ่งได้มีส่งมอบแล้ว 14.7 ล้านโดส เดือนละ 5 ล้านโดสขึ้นไป จนครบ 61 ล้านโดส อีกทั้งยังมี วัคซีนบริจาคอีก 1.46 ล้านโดส
2. สั่งซื้อ วัคซีนซิโนแวค (Sinovac) จำนวน 13.4 ล้านโดส เหลือรับเพิ่ม 5.7 ล้านโดส (ในเดือน ส.ค. - ก.ย.) อีกทั้งยังมี วัคซีนบริจาคอีก 1 ล้านโดส
3. สั่งจอง วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) จำนวน 20 ล้านโดส แต่ยังไม่ได้มีการส่งมอบ ซึ่งมีเพียงการรับบริจาค 2.5 ล้านโดส แบ่งเป็น 2 ล็อต ล็อตแรกได้รับมาแล้ว 1.5 ล้านโดส ส่วนล็อตที่ 2 อีก 1 ล้านโดส โดยมีกำหนดส่งในไตรมาส 4
4. การสั่งนำเข้า วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) นั้นดูท่าว่าจะมีปัญหาเกิดขึ้น เมื่อบริษัทขอเลื่อนลงนามสัญญา เนื่องด้วยพบปัญหาการผลิต
5. การสั่งจอง วัคซีนสปุตนิก (Sputnik) นั้นยังไม่คืบหน้า เนื่องจากตั้งรอขึ้นทะเบียนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
6. การนำเข้า วัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ซึ่งทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้นำเข้าและส่งมอบแล้วจำนวน 5 ล้านโดส
7. การสั่งจองวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) ซึ่งทางองค์การเภสัชฯ/สภากาชาดไทย มีแผนนำเข้าจำนวน 5 ล้านโดส โดยมีกำหนดส่งมอบปลายปี 2564 ซื้อวัคซีนเพิ่มอีกจำนวน 32 ล้านโดส
อย่างไร็ตาม แผนการการจัดหาวัคซีนทั้งสิ้น 32 ล้านโดส อยู่ภายใต้การดำเนินการของ กรมควบคุมโรค โดยการมอบอำนาจให้อธิบดีกรมควบคุมโรคการลงนามในสัญญาจองซื้อไฟเซอร์ เพิ่ม 10 ล้านโดสนั้น ต้องเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีและผ่านการเห็นชอบก่อน