สาวป่วยซึมเศร้าคิดลาโลก ไปกินแซลมอนมื้อสุดท้าย เปลี่ยนใจอยู่ต่อเพราะร้าน

16 กันยายน 2564

สาวป่วยซึมเศร้า อยากลาโลก วางแผนทุกอย่างไว้เรียบร้อยก่อนจะไปกินแซลมอนของโปรดเป็นมื้อสุดท้าย ก่อนได้รับกำลังใจจากทางร้าน จึงตัดสินใจใช้ชีวิตต่อ

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่ถูกพูดถึงอย่างมากบนโลกออนไลน์ เมื่อหญิงสาวรายหนึ่งที่ได้โพสต์รีวิวสถานการณ์ก่อนและหลังการไปสั่งปลาแซลมอน จากร้านแซลมอนร้านหนึ่ง หลังจากที่เธอกินปลาแซลมอนลงไปก็ได้ช่วยชีวิตเธอไว้ ทำให้ความคิดเธอเปลี่ยนไปเลย  ชาวเน็ตหลายคนต่างเข้ามาแสดงความเห็นและให้กำลังใจเธออย่างล้นหลาม

 

 

 

โดยผู้โพสต์ระบุข้อความว่า ก่อนสั่งแซลมอน ตัวเธอเองนั้นมีความคิดและวางแผนอยากลาโลกอย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นโรคซึมเศร้าและรักษามาหลายปีแล้ว เธอเขียนพินัยกรรม ถึงแม่ สามี และลูก บอกว่าคืนนี้จะจากไปแล้วนะ จะไปสบายแล้ว หลังจากนั้นก็ได้อาบน้ำ เตรียมตัวสั่งแซลมอนจากร้านหนึ่ง ขอให้ได้กินอาหารที่ชอบที่สุดเป็นมื้อสุดท้าย เธอคุยกับทางร้าน และซึ่งร้านแถมหางแซลมอนหั่นเต๋ามาหลายชิ้น แถมท้องแซลมอนสดมาด้วย มันทำให้เธอรู้สึกดีมากที่คนบนโลกไม่ได้ใจร้ายกับเธอไปหมดทุกคน 

 

แซลมอนช่วยชีวิต

หลังจากนั้นความคิดอยากลาโลกมันก็ทุเลาลง เธอจึงบอกความจริงกับทางร้านไป ซึ่งทางร้านให้กำลังใจมาด้วย "ขอบคุณที่ทำให้ชีวิตเราผ่านพ้นวันนี้ไปได้ค่ะ" หญิงสาวยังบอกอีกว่า ตลอดเวลาที่กินแซลมอน เธอร้องเพลงและโยกตัวไปมาตลอดเลย ตัวเธอเองยังสะดุด และคิดว่าเรามีความสุขกับการกินขนาดนี้เลยเหรอ พร้อมทิ้งท้ายด้วยว่า แซลมอนหวานมาก ไม่คาว และซอสโชยุก็หอมมาก ๆ ด้วย 

 

แซลมอนช่วยชีวิต

ทางด้านร้านแซลมอนดังกล่าวได้แชร์โพสต์ของเธอ พร้อมระบุว่า ทางร้านขอขอบพระคุณและซึ้งใจลูกค้าจากใจจริง ที่มองเห็นคุณค่าจากสิ่งเล็ก ๆ ที่เรามอบให้เช่นกัน วันนี้ร้านเปิดให้บริการนะคะ เนื่องจากพลังใจจากลูกค้าที่ให้ทางร้านได้ก้าวต่อไปในการทำอาหารให้ตรงปกที่สุด ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของทางร้านที่ต้องการมอบให้ลูกค้าค่ะ เมื่อลูกค้าได้รับและมีความสุขที่ทานอาหารของเรา ทางร้านก็แฮปปี้เช่นเดียวกันค่ะ

แซลมอนช่วยชีวิต

โรคซึมเศร้าจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เช่น มีประจำเดือน , การตั้งครรภ์ , ภาวะหลังคลอด หรือการเข้าสู่วัยทอง อีกทั้งในชีวิตของพวกเขายังจะต้องรับผิดชอบในหลายๆ อย่าง ทั้งในบ้านและนอกบ้าน ทำให้เกิดความเครียด ในการรักษาทุกคนต้องให้กำลังใจ และทำความเข้าใจกับผู้ป่วยให้มากที่สุด  ทั้งนี้แอดขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆคนด้วยนะคะ

 

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews