จากกรณี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข กล่าวในวันที่ 22 ก.ย. 64 ถึงกรณี คณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านร่าง พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ว่า ส่วนนี้ไม่ได้เสนอขึ้นมาจากกระทรวงสาธารณสุข แต่ เป็นการเสนอจากทาง ครม. มีนายวิษณุ เครืองาม เป็นผู้ดูแลเรื่องนี้ เป็นการเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น โดยเมื่อใดที่มีการประกาศให้โรคใดเป็นโรคติดต่อร้ายแรงคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ซึ่งปกติมีรมว.สาธารณสุข เป็นประธาน ก็จะถูกยกระดับทันที มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีรองนายกรัฐมนตรีที่นายกฯ แต่งตั้ง เป็นรองประธานฯครอบคลุมหมด
ทางด้าน รมว.สาธารณสุข ก็เป็นกรรมการ ทั้งนี้มีอำนาจในการประกาศสถานการณ์ต่างๆได้ ทางด้านสาธารณสุขสามารถประกาศบังคับความร่วมมือของทุกหน่วยงาน และประกาศกฎเกณฑ์ต่างๆ ได้ เหมือนเป็นศบค.ปัจจุบัน แต่ไม่ได้อยู่ภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะทำให้ความร่วมมือระหว่างกันมีมากขึ้น
เมื่อถามว่าหาก พ.ร.ก.ฉบับนี้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว สามารถย้ายศบค. มาเป็นกรรมการชุดใหม่ได้ทันทีหรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า น่าจะเป็นอย่างนั้น รอให้มีการประกาศก่อน
- "หมอธีระ"เตือน เมืองหลวง มีโอกาสแตกสูงมาก!
- ดีเดย์ 24 ก.ย. เปิดลงทะเบียนฉีดวัคซีน บูสเตอร์ เข็ม 3 ผู้รับซิโนแวคครบ 2 เข็ม
- ประกันสังคม แนะการเบิกเงินชดเชยผู้ประกันตน ม.33 39 40 กรณีติดโควิดขาดรายได้
พ.ร.ก.ฉบับนี้ จะล้อไปตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สามารถสั่งปิดสถานที่ ประกาศเคอร์ฟิวได้ด้วย ทั้ง อำนาจ ขอบข่ายความรับผิดชอบ การป้องกันบุคลากร เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานภายใต้ พ.ร.ก.นี้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews