กรณีการบริโภคเครื่องดื่ม ที่มีรสชาติหวานทำให้เกิดความเสี่ยงของการเกิดภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วน โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และโรคฟันผุ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำมาสู่แนวคิดการจัดเก็บภาษีน้ำตาลในเครื่องดื่มเพื่อสุขภาวะคนไทย ซึ่งเล็งเห็นว่าเป็นผลดี
ภายใต้พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 กำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล เครื่องดื่มผง (3 in 1) และเครื่องดื่มเข้มข้นตามปริมาณน้ำตาล
- สตม. ชี้แจง คลิปพนง.โรงงานขนมปังกรอบ ใช้เท้าเหยียบ ใช้ลิ้นเลีย ก่อนบรรจุขาย
- โปรดเกล้าฯถอดยศ เรียกคืนเครื่องราชฯ อดีตข้าราชการ 5 ราย มี "บิ๊ก" สกุลดัง
- “สุนารี” ขับรถป้ายแดงใหม่เอี่ยม ชนท้ายจังๆ พร้อมโชว์ป้ายทะเบียนสวยๆ!
ปี 2551-2560 คนไทยมีการบริโภคน้ำตาลจากเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น แต่หลังการบังคับใช้พระราชบัญญัติสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ในการจัดเก็บภาษี เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล เครื่องดื่มผง (3 in 1) และเครื่องดื่มเข้มข้นตามปริมาณน้ำตาล ส่งผลให้คนไทยมีการบริโภคน้ำตาลจากเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 15.3 และ 14.0 ในปี 2561 และ 2562 ตามลำดับ และในปี 2563 พบว่าคนเป็นโรคอ้วนลดลง 9,306 คน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews