จากกรณี วันนี้ (24 ก.ย.2564) "ราชกิจจานุเบกษา" เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีคัดกรองการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ตามแนวทางโครงการ Factory sandbox
ประกาศดังกล่าว มีเนื้อหาว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19)) ที่มีการระบาดใหม่อย่างรวดเร็ว ที่ประชุมศูนย์บริหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ เห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานได้จัดทำข้อเสนอโครงการนำร่อง เกี่ยวกับแรงงานในสถานประกอบกิจการและโรงงานตามโครงการ Factory sandbox เพื่อจัดการ โครงสร้างและกระบวนการในลักษณะ “เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ” ที่ดำเนินการควบคู่กันระหว่าง สาธารณสุขและเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะภาคการผลิตและอุตสาหกรรมการส่งออกขนาดใหญ่ อันประกอบด้วย ๔ ภาคส่วน คือ ภาคส่วนยานยนต์ ภาคส่วนชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ภาคส่วนอาหาร และภาคส่วนอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งถือเป็นกลไกหลักที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน
โดยมีหลักการสำคัญ คือ ตรวจ รักษา ควบคุม ดูแล เพื่อให้การบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เกิดประโยชน์สูงสุดและตรงกลุ่มเป้าหมาย ให้ผู้ประกันตนในสถานประกอบการที่ด าเนินกิจการผลิต เพื่อการส่งออกสินค้าทั้ง ๔ ภาคส่วนดังกล่าว ซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ ๕๐๐ คนขึ้นไป ในพื้นที่ ๗ จังหวัด นำร่องที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
ในระยะที่ 1 ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดปทุมธานี
ระยะที่ 2 ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรปราการ ได้รับการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
โดยให้มีการจำกัดอยู่ในพื้นที่ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด ในวงกว้าง อันจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนสุขภาวะ ของประชาชนทั่วประเทศ ประกอบกับที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) ได้มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ คณะกรรมการการแพทย์ ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม
จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์ กรณีคัดกรองการติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19)) ตามแนวทาง โครงการ Factory sandbox อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕
(๒) และมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการการแพทย์ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๔
โดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการประกันสังคม จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “การตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19” หมายความว่า การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ด้วยเทคนิค Real time Reverse Transcription Polymerase Chain Reaction (Real time RT- PCR) เพื่อตรวจค้นหา ผู้ประกันตนที่อาจติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ในสถานประกอบการ หากเป็นการ ตรวจคัดกรองด้วยวิธี RT-PCR แล้วมีผู้ติดเชื้อ ให้ประเมินศักยภาพในการดูแลรักษา และพิจารณา ใช้วิธีสุ่มตรวจตามแนวทางของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กำหนด
- มิจฉาชีพ เปลี่ยนช่องทาง เลิกส่งแล้ว SMS แต่มีวิธีเข้าถึงที่ง่ายกว่านั้น
“สถานประกอบการ” หมายความว่า สถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวดที่กระทรวงแรงงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม เสนอต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบกำหนดให้ได้รับการดำเนินการตามโครงการ Factory sandbox และได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ Factory sandbox
“สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ที่ได้รับ ความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและได้ท าบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ Factory sandbox “จังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด” หมายความว่า จังหวัดน าร่องตามโครงการ Factory sandbox
“ผู้ประกันตน” หมายความว่า ผู้ประกันตนในสถานประกอบการเป้าหมายในจังหวัดที่เป็น พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดตามโครงการ Factory sandbox
“สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานประกันสังคมจังหวัด ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดที่เป็นพื้นที่ ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดตามโครงการ Factory sandbox
ข้อ ๓ การพิจารณาจัดสรรจำนวนผู้ประกันตน และกำหนดสถานประกอบการที่เข้าร่วม ดำเนินการตามโครงการ Factory sandbox ให้เป็นไปตามที่กระทรวงแรงงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม เสนอต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบการตรวจคัดกรองการติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 เพื่อดำเนินการในจังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
ข้อ ๔ ให้สำนักงานจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เป็นค่าตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 และค่าบริการให้คำแนะนำ คำปรึกษาเพื่อติดตามดูแลและประเมินผล แก่สถานพยาบาล ดังนี้
๔.๑ ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยวิธี RT -PCR โดยการทำป้ายหลังโพรงจมูกและลำคอ (nasopharyngeal and throat swab sample) ประเภท ๒ ยีน ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินครั้งละ ๑,๕๐๐ บาท
๔.๒ ค่าบริการให้คำแนะนำ คำปรึกษาเพื่อติดตามดูแลและประเมินผล ตั้งแต่เริ่ม การตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยวิธี RT - PCR จนกระทั่ง สถานประกอบการได้รับการรับรอง “โรงงานผ่านมาตรฐาน sandbox ” โดยต้องจัดทำรายงานข้อมูล ของผู้ประกันตนรายบุคคล และข้อมูลสถานประกอบการให้สำนักงานทราบ เหมาจ่ายในอัตราคนละ ๒๐๐ บาท
ประกาศ ณ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔
ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณเหลือพร ปุณณกันต์
ประธานกรรมการการแพทย์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews