กรณีตรวจสอบพบคันดินกั้น อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรตอนล่าง ต.บัลลังก์ อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา ถูกมวลน้ำซัดพังทลายกว้างประมาณ 10 เมตร เนื่องจากปริมาณน้ำภายในอ่างมีมากจนเกินความจุทำให้คันดินพัง
และเมื่อช่วงเย็นของวันที่ 26 ก.ย.ที่ผ่านมานั้น ทั้งนี้ทาง เพจเฟซบุ๊ก โครงการชลประทานนครราชสีมา รายงานสถานการณ์ล่าสุด ความว่า อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำเชียงไกรตอนล่าง ล่าสุด เช้าวันที่ 27 ก.ย.64 ระดับน้ำในอ่างฯ ลดลง 30 ซม. (เริ่มลดลงเวลา 01:00 น.) และเหลือถึงระดับสันทำนบดิน อ่างฯ 60 ซม.
หมายถึง ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างฯ ประมาณ 400-500 ลบ.ม.ต่อวินาที < (ลดลง/น้อยกว่า) ปริมาณน้ำที่ไหลออกจากทุกช่องทาง (ช่อง river outlet ซ้าย/ขวา , กาลักน้ำ /สูบน้ำ ,รถสูบซิ่ง ,ทางระบายน้ำฉุกเฉินขวา (Emergency Spillway) ,และช่องบ่อก่อสร้าง ประตูระบายน้ำ( Service Spillway)จึงยังไม่ต้องตัดคันทำนบดินอ่างฯจุดอื่นเพิ่มการระบายอีก ระดับน้ำในอ่างฯ ทรงตัวและลดลง ทำให้ ไม่เกิดล้นข้ามทำนบดินสันของอ่างเก็บน้ำ ในลักษณะพังทลาย หรือเขื่อนแตก
สามารถบริหารน้ำออกอ่างฯให้มากกว่าหรือเท่ากับน้ำเข้าอ่างฯ รักษาความปลอดภัยเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ พ้นวิกฤติ และบรรเทาความเสียหายด้านท้ายน้ำ ยังต้องเฝ้าระวังปริมาณน้ำที่ ยังคงไหลลงมาจากตอนบน ห้วยสามบาท ที่ไหลลงมาอย่างต่อเนื่องต่อไป
หลังจากโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปได้มีประชาชนจำนวนมากเข้ามาถล่มคอมเมนต์ ในเพจของ "โครงการชลประทานจังหวัดนครราชสีมา" อาทิ ข่าวจะออกแบบไหนก็ได้ คนในพื้นที่รู้ดีที่สุด ตอนนี้ระดับน้ำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 5 หมู่บ้านถูกตัดขาด เรือเจ้าหน้าที่ก็เข้าไปช่วยเหลือไม่ได้ เพราะน้ำไหลแรงมาก รอรถทหารอย่างเดียว , ภาพที่เห็นกับคำพูดมันไม่สอดคล้องกัน ไม่เกิดผลดี ความหวังและความเชื่อมั่นจมหายไปกับน้ำ เตือนให้รู้ถึงแม้จะตื่นตกใจยังดีกว่าไม่รู้และวางใจ
- อัพเดทสถานการณ์ อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร ยังต้องเฝ้าระวังปริมาณน้ำต่อเนื่อง
- ย้อนคำทำนาย "หมอบี ทูตสื่อวิญญาณ" ผ่าดวงไทย ระวังน้ำท่วมหนัก ก.ย.-สิ้นปี 64
- เฮี้ยนหนัก! สาวถ่ายรูปวิวโรงแรม กลับเจอผีตัวเป็น ๆ แม้แต่พระยังช่วยการันตี
ทางด้านชาวบ้านในพื้นที่เอง ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การระบายน้ำออกในแบบที่ไม่สามารถควบคุมการหยุดระบายได้ รวมถึงการที่พนังกั้นน้ำได้พังขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆเช่นนี้ ชาวบ้านเรียกกันว่าอ่างแตก ซึ่งถ้าหากอยู่ในแผนการระบายน้ำก็น่าจะมีการแจ้งเตือนชาวบ้านที่อยู่ท้ายอ่างเก็บน้ำให้เตรียมความพร้อมแล้วให้เริ่มอพยพไปอยู่ในจุดที่ปลอดภัยก่อนแล้วค่อยดำเนินการระบายน้ำ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews