"หมอธีระ"เตือน สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ความเข้าใจเรื่องวัคซีน

27 กันยายน 2564

หมอธีระ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย

โดยคุณ หมอธีระ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความสถานการณ์โควิด-19  ซึ่งมีการระบุว่า 

...สถานการณ์ไทยเรา

เมื่อวานจำนวนการติดเชื้อใหม่ 12,353 คนนั้น สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก

แต่หากรวม ATK ด้วย จะเขยิบสูงเป็นอันดับ 7 ของโลก

ที่ยังน่าเป็นห่วงอีกเรื่องคือ จำนวนการเสียชีวิตหลักร้อยอย่างต่อเนื่อง เมื่อวานสูงเป็นอันดับ 10 ของโลก

"หมอธีระ"เตือนสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย

...ความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีน

หนึ่ง วัคซีนแต่ละชนิดที่ได้รับการนำมาใช้ในแต่ละประเทศนั้น มีข้อมูลวิชาการทั้งประสิทธิผล (efficacy) ประสิทธิภาพ (effectiveness) และอาการไม่พึงประสงค์ที่ต้องระมัดระวังที่มากน้อยแตกต่างกันไป ประชาชนจึงจำเป็นจะต้องหาความรู้ ทำความเข้าใจ และตัดสินใจให้เหมาะสมกับตัวเราและครอบครัว

ทั้งนี้ขอให้ตระหนักไว้ว่า ข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันถูกส่งต่อหรือเผยแพร่มากมาย หลายต่อหลายเรื่องก็มีการบิดเบือน เพื่อให้เข้าใจไปในทางที่ไม่ถูกต้อง จึงต้องตรวจสอบก่อนจะปักใจเชื่อ และหากไม่แน่ใจก็ให้สอบถามเพิ่มเติมจากบุคลากรทางการแพทย์ที่ท่านไว้ใจเชื่อใจ

สอง อเมริกานั้นเคยระบาดหนักมาก่อน และฉีดวัคซีน mRNA และบางส่วนก็มีการใช้วัคซีน Ad26 vector ในประชากรของเค้า จนสามารถควบคุมโรคได้ดี การเกิดระบาดซ้ำขึ้นมาในปัจจุบัน ไม่ได้แปลว่าวัคซีนไม่ได้ผล แต่เกิดจากการแพร่ระบาดในกลุ่มประชากรที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน (outbreaks among unvaccinated) และบางส่วนเกิดจากการที่ประชากรที่ได้รับวัคซีนไปนาน แล้วภูมิคุ้มกันลดลงไป จึงต้องมีการพิจารณาเรื่องฉีดเข็มกระตุ้น ดังที่หลายคนที่ได้ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดคงจะทราบกันดี ซึ่งล่าสุด US CDC ก็ได้ออกมาแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มกระตุ้นให้สำหรับประชากรกลุ่มต่างๆ ดังที่เคยเล่าให้ฟังไปวันก่อน

ข้อมูลทางการแพทย์สากลยืนยันชัดเจนว่าในแง่ของประสิทธิผลและประสิทธิภาพนั้น mRNA vaccines สูงกว่าวัคซีนอื่นๆ

 

- คนโคราช จวกยับ หลัง ชลประทานแจงล่าสุด "อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร"

- เช็คด่วน 12 จังหวัด ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เตรียมตัวรับมือ มวลน้ำหลาก

- "สรยุทธ" ตอบชัด น้ำท่วมปีนี้ จะซ้ำรอยปี 54 หรือไม่ พร้อมให้เหตุผล!

อย่างไรก็ตาม วัคซีนแต่ละชนิดจะมีข้อจำกัดแตกต่างกันไป เช่น ChAdOx vector อาจต้องระวังลิ่มเลือดอุดตันในสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนอายุน้อยกว่า 50-60 ปี, mRNA vaccines อาจต้องระวังเรื่องกล้ามเนื้อหัวใจหรือเยื่อบุหัวใจอักเสบในคนอายุน้อยกว่า 30 ปี โดยมีโอกาสเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง, วัคซีนเชื้อตายอาจไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องอาการไม่พึงประสงค์รุนแรง แต่อาจกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันได้ไม่สูงนักและภูมิคุ้มกันลดลงเร็ว เป็นต้น

ดังนั้นประเทศที่วางแผนวัคซีนอย่างรอบคอบจึงควรมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง มีความหลากหลาย ให้สามารถเลือกใช้อย่างเหมาะสมกับแต่ละเพศ และวัยของประชากร ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้

 

การเสริมสร้างให้ประชาชนในประเทศมีทักษะในการรับรู้รับฟังข้อมูลข่าวสารโดยไตร่ตรองอย่างมีวิจารณญาณ ทำความเข้าใจตามหลักเหตุและผล และใช้ข้อมูลวิชาการแพทย์ที่พิสูจน์ได้เป็นตัวตัดสินใจ จะทำให้ประชาชนมีสมรรถนะในการรับมือกับภัยคุกคามต่างๆ ได้อย่างดี

เป็นกำลังใจให้เราทุกคนป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด และปลอดภัยไปด้วยกัน

ด้วยรักและห่วงใย

"หมอธีระ"เตือนสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews