ผู้ปกครองเฝ้าระวังอาการ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังฉีดไฟเซอร์ให้นักเรียน

04 ตุลาคม 2564

ผู้ปกครองเฝ้าระวังเช็คอาการ ฉีดไฟเซอร์ร์เข็มแรกให้นักเรียนระหว่างอายุ 12-18 ปี หมอธีระวัฒน์เตือนเฝ้าระวังภาวะ"กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ"

 ในวันที่ 4 ต.ค.64 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธี “Kick Off สร้างเกราะป้องกันด้วยวัคซีน เด็กปลอดภัย เรียนอุ่นใจ ต้อนรับเปิดเทอม”  เพื่อฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มแรกให้นักเรียนระหว่างอายุ 12-18 ปี พร้อมด้วยนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  โดยมีโรงเรียนใน 13 เขตสุขภาพทั่วประเทศ เข้าร่วมผ่านโปรแกรม Zoom Cloud Meetings ณ โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร

 

ผู้ปกครองเฝ้าระวังอาการ  กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ  หลังฉีดไฟเซอร์ให้นักเรียน

อย่างไรก็ตาม ในทุกวันนี้เรามี 3 สถานการณ์ที่น่าห่วงใย คือ การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ปัญหาอุทกภัย และปัญหาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลต้องแก้ปัญหาทุกอย่าง จึงอยากฝากไปถึงครูอาจารย์และนักเรียนทุกคน ให้เข้าใจว่าประเทศชาติเราจะอยู่ได้อย่างไร เพราะฉะนั้นวันนี้เรามีปัญหาอะไร ก็แก้ไป ทำให้ดีที่สุด จนกว่าปัญหาทุกอย่างจะเรียบร้อย

ผู้ปกครองเฝ้าระวังอาการ  กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ  หลังฉีดไฟเซอร์ให้นักเรียน

โดยทางกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดแผนฉีดวัคซีนให้นักเรียน นักศึกษา ทุกสังกัด อายุระหว่าง 12-18 ปี จำนวน 5,048,081 คน เบื้องต้นมีผู้ประสงค์จะฉีด 3.61 ล้านคน คิดเป็น 71.67% โดยฉีดวัคซีนสูตร​ ไฟเซอร์ + ไฟเซอร์ เริ่มตั้งแต่ 4 ตุ.ค.64​ ให้กับสถานศึกษา​พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) 15,465 แห่ง ใน 29 จังหวัดก่อน​ และจะฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน

ผู้ปกครองเฝ้าระวังอาการ  กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ  หลังฉีดไฟเซอร์ให้นักเรียน

การ​ฉีดวัคซีนสำหรับเด็กนักเรียน/เยาวชน/บุคลากรภายในโรงเรียนเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัย​ พร้อมเร่งกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินโครงการ Sandbox Safety Zone in School (SSS) สำหรับโรงเรียนที่มีความพร้อม คาดโรงเรียนจะกลับมาเปิดเรียน On Site ได้มากที่สุด เพื่อลดความเครียดและข้อจำกัดของนักเรียนในการเรียนออนไลน์​


-นพ.เฉลิม แนะ คนจอง วัคซีนโมเดอร์นา เลื่อนฉีดไปได้อีก 3 เดือน
-ธนาคารกรุงไทย ชี้แจงแล้ว คนละครึ่ง เฟส 3 เดลิเวอรี่ ปม รับสิทธิดีลพิเศษ
-แจงแล้ว ดราม่า เขียงหมูไม่ขายหมูซีพี ผิดกฎหมาย!
 

   ด้าน ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า การวัคซีนชนิด mRNA ในเด็กนั้นค่อนข้างมีความเสี่ยงสูงมากกว่าการฉีดวัคซีนชนิดเชื้อตาย ถึงแม้ว่าจะมีรายงานออกมาอัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมีน้อยมาก แต่การฉีดวัคซีนในเด็ก ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก และแม้ว่าอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจะสามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็มักจะส่งผลระยะยาวต่อการใช้ชีวิตเช่นกัน ดังนั้นวัคซีนที่เหมาะกับกับเด็กมากกว่าจึงควรเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย แต่หากยังกังวลว่าการฉีดวัคซีนเชื้อตายทำให้ภูมิคุ้มกันขึ้นช้า และลงเร็ว เราสามารถกระตุ้นเข็มที่ 3 ด้วยวัคซีนชนิดอื่น ๆ ผ่านการฉีดเข้าใต้ชั้นผิวหนัง ก็จะได้ผลดีและปลอดภัยกับเด็กมากกว่า 

ผู้ปกครองเฝ้าระวังอาการ  กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ  หลังฉีดไฟเซอร์ให้นักเรียน

 

อาการที่ต้องเฝ้าระวังของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ มีดังนี้

-แน่นหน้าอกเจ็บหน้าอก
-หอบเหนื่อยง่าย
-ใจสั่น
-หมดสติเป็นลม

ผู้ปกครองเฝ้าระวังอาการ  กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ  หลังฉีดไฟเซอร์ให้นักเรียน

 

ส่วนอาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรง ซึ่งพบได้หลังจากที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ไปแล้วประมาณ 1-2 วัน ดังนี้

-มีไข้ หนาวสั่น
-ปวดศีรษะ
-ปวดกล้ามเนื้อ
-ปวดข้อต่อ
-ท้องเสีย
-อ่อนเพลีย
-ปวด บวม หรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews