จากกรณี นาย สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผย มาตรการเยียวยาเอสเอ็มอี ว่า การประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบศ. ครั้งที่ 4/2564 ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้เห็นชอบหลักการโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจเอสเอ็มอี โดยมีเป้าหมายช่วยเหลือผู้ประกอบการ ในการส่งเสริมและรักษาการจ้างงาน ตลอดจนสร้างความแข็งแรงให้แก่ธุรกิจ ช่วยอุดหนุนค่าจ้าง หัวละ 3,000 บาท 3 เดือน ผ่านพ้นช่วงวิกฤต โควิด-19
การช่วยเหลือเป็นไปตามนโยบายและมาตรการช่วยเหลือ เอสเอ็มอี ของรัฐบาล โดยลดภาระต้นทุน เพิ่มสภาพคล่องให้ เอสเอ็มอี SME สามารถประคับประคองธุรกิจให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤติ โควิด -19 ได้ คาดว่าจะช่วยรักษาการจ้างงานในสถานประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางได้ถึง 394,621 แห่ง อุดหนุนค่าจ้างผู้ประกันตนสัญชาติไทยได้ 4,034,590 คน ส่งเสริมการจ้างงานใหม่ ในเดือนที่ 2 และ 3 สูงสุด 201,730 ราย”
นายสุชาติ กล่าวอีกว่า คุณสมบัติ เอสเอ็มอี ที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อรับเงินอุดหนุน ต้องเป็นนายจ้างภาคเอกชนในฐานข้อมูลประกันสังคม (สถานะ Active ในฐานทะเบียนประกันสังคม) ที่มีลูกจ้างรวมทุกสาขาไม่เกิน 200 คน ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2564
เงื่อนไขในการรับเงินอุดหนุน
-นายจ้างที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องเป็นนายจ้างภาคเอกชนในฐานข้อมูลประกันสังคม มีสถานะ Active ในฐานทะเบียนประกันสังคม โดยมีลูกจ้างรวมทุกสาขาไม่เกิน 200 คน ณ วันที่ 16 ต.ค. 64
-รัฐจะอุดหนุนการส่งเสริมและรักษาการจ้างงานเฉพาะลูกจ้างสัญชาติไทย ให้แก่นายจ้างเพื่อรักษาการจ้างงานในอัตรา 3,000 บาทต่อลูกจ้างสัญชาติไทย 1 คนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน
-เปิดให้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการในเดือนต.ค.64 และรับเงินอุดหนุนในเดือนพ.ย. 64 - ม.ค. 65 โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินอุดหนุนทุกวันทำการสุดท้ายของเดือน
-ทั้งนี้นายจ้างจะต้องรักษาระดับการจ้างงานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ในระหว่างเข้าร่วมโครงการฯ หากไม่สามารถรักษาระดับการจ้างงานให้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 จะไม่ได้รับเงินอุดหนุนในเดือนนั้น
- พนักงานห้างดัง ติดโควิดเกือบทุกแผนก แจ้งลูกค้าตรวจเชื้อด่วน
- คลัสเตอร์ใหม่ "งานศพ" พบติดเชื้อพุ่ง 838 ราย
- เปิดความจริง ตรวจพบดีเอ็นเอสัตว์ปนเปื้อนในอาหารเจกว่าร้อยละ 17.5
กรณีนายจ้างมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากยอดการจ้างงาน ณ วันเริ่มโครงการ จะได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มตามจำนวนการจ้างงานจริงไม่เกินร้อยละ 5นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละจังหวัดตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างฯ
ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ขณะนี้กรมการจัดหางานอยู่ระหว่างจัดทำระบบลงทะเบียน และกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆเพื่อเตรียมพร้อมเสนอต่อ คณะรัฐมนตรี หากครม.มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ กรมการจัดหางานจะเปิดให้นายจ้างที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ ลงทะเบียนยืนยันการเข้าร่วมโครงการทางระบบออนไลน์ พร้อมแนบเอกสารที่กำหนด โดยไม่ต้องเดินทางมาติดต่อที่สำนักงาน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews