จากกรณีที่องค์กรต่อต้านสารต้องห้ามโลก หรือ วาด้า ( WADA) ออกแถลงการณ์เเบนประเทศไทย ไม่ให้การรับรองไทย, เกาหลีเหนือ เเละประเทศอินโดนีเซีย ในการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาระดับสากลนานาชาติ ทั้งระดับภูมิภาค ทวีปหรือระดับโลก เป็นระยะเวลา 1 ปี
โดยประเทศไทยถูก WADA ระบุความผิดไว้ว่า ไทยไม่ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับ พระราชบัญญัติสารกระตุ้นของ WADA ในด้านของการบังคับใช้กฎหมาย ในขณะที่อินโดนีเซียและเกาหลีเหนือผิดกฎในด้านของการไม่ส่งนักกีฬาเข้ารับการตรวจหาสารกระตุ้น ด้านอินโดนีเซียและเกาหลีเหนือถูกแบนเนื่องจากศูนย์ตรวจหาสารต้องห้ามในประเทศไม่มีอุปกรณ์และเครื่องมือในการตรวจหาสารต้องห้ามที่มีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตามนักกีฬาจากทั้ง 3 ประเทศสามารถร่วมแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติได้ปกติ แต่หากรายการไหนเป็นการแข่งขันที่มี WADA และ IOC (คณะกรรมการโอลิมปิกสากล)เป็นผู้ดูแลการแข่งขัน อาทิ โอลิมปิกเกมส์หรือพาราลิมปิกเกมส์ ทั้ง 3 ชาติจะไม่สามารถใช้ธงชาติในนามประเทศลงแข่งขันได้ หมายความว่านักกีฬาไทยจะไม่สามารถเเข่งขันภายใต้ธงชาติไทย ห้ามใช้ธงชาติไทย
-แชร์ว่อน Miss Grand Cambodia 2021 รอบชุดประจำชาติ เลือกที่ลงได้เป๊ะมาก
-สองน้าหลานสุดหลอน เจอผีสาวขึ้นคร่อม 5 คืนติด
-หนุ่มได้ยินเสียงแปลกๆ จากเพดานทุกคืน ตัดสินใจติดกล้องวงจรปิดดู
สำหรับมหกรรมกีฬาที่ไทยจะแข่งขันในระยะเวลา 1 ปีหลังจากนี้ ได้แก่ กีฬาโอลิมปิกเกมส์ ฤดูหนาว 2022 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 4-20 กุมภาพันธ์, กีฬาเอเชี่ยนอินดอร์และมาร์เชียลอาร์ตเกมส์ ที่ประเทศไทย (ยังไม่กำหนดวันเวลาแน่นอน), กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ในเดือนพฤษภาคม ที่ประเทศเวียดนาม, กีฬาเวิลด์เกมส์ ที่สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 7-22 กรกฎาคม และกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 19 ที่นครหังโจว ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 10-25 กันยายน
1. Audit Programs เป็นการตรวจสอบประเมินการปฏิบัติงานของสำนักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา ซึ่ง กกท.ได้ดำเนินการแก้ไข และการปฏิบัติงานตามข้อเสนอแนะของ WADA และยังอยู่ในระหว่างการตรวจประเมินของ WADA ซึ่งจะสิ้นสุด ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564
2. Continuous Monitoring Program ซึ่ง WADA ได้ให้การรับรองกฎการต่อต้านการใช้ สารต้องห้ามของสำนักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา เรียบร้อยแล้ว
3. พระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 ซึ่ง WADA ได้ทำการตรวจสอบพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 พบว่า มีข้อกำหนด ในบางมาตราที่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ตามที่ประมวลกฎการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก ฉบับ ค.ศ. 2021 กำหนดไว้
ดังนั้น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย สำนักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา ได้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี โดยในคราวการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564 โดยคณะรัฐมนตรี มีมติมอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา การกีฬาแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ร่วมกันพิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 อาทิ การกำหนดให้หน่วยงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมการใช้สารต้องห้ามของประเทศไทย เป็นหน่วยงานอิสระ แก้ไขบทนิยามเกี่ยวกับสารต้องห้ามทางการกีฬา เป็นต้น โดยให้สอดคล้องกับประมวลกฎการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก
โดยให้พิจารณารูปแบบความเหมาะสมที่จะตราเป็นกฎหมายตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตราเป็นพระราชกำหนดตามมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไปโดยเร็ว ซึ่งหากประเทศไทยดำเนินการแก้ไขกฎหมายล่าช้า จะส่งผลให้ประเทศไทยไม่สามารถส่งนักกีฬาไปเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติ หรือเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติได้ อันจะทำให้กระทบต่อวงการกีฬาของประเทศ และภาพลักษณ์ของประเทศไทยต่อนานาประเทศ
รวมทั้ง อาจสูญเสียมูลค่าทรัพย์สินทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก จึงสมควรแก้ไขกฎหมายในเรื่องนี้ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว ภายใน 3 – 4 เดือน โดยขณะนี้ การดำเนินการอยู่ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews