สำหรับ ก้อง ห้วยไร่ นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง ที่ได้ออกมาพูดถึงความกระอักกระอ่วนใจ ที่เมื่อ 14 ปีก่อน ที่ก้องได้เข้ามาเรียนใน กทม. และถูกมองว่าแค่เกิดมาเป็นคนอีสาน ก็เป็นรองไปแล้ว โดยก้องบอกว่า เมื่อ 14 ปีก่อน ก้องได้เข้ามาเรียนใน กทม. การจะพูดภาษาถิ่นเป็นเรื่องที่ถูกด้อยค่า ภาพจำของคนอีสานคือคนใช้แรงงาน ถูกถ่ายทอดมาซ้ำแล้วซ้ำเล่าผ่านสื่อต่าง ๆ คนอีสานมีบทบาทในภาพยนตร์และละครคือ การเป็นคนรับใช้ คนขับรถ คนใช้แรงงาน
ภาพจำของคนอีสานคือ เป็นกลุ่มคนที่ไว้รองรับคำสั่งและให้บริการ การจะพูดหรือแสดงตัวว่าเป็นคนอีสานต้องระวังตัวไว้มาก เพราะนี่คือเรื่องจริงที่เกิดกับตัวของก้องเอง จนก้องถึงกับตั้งคำถามว่า ทำไมถิ่นกำเนิดถึงมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตได้ขนาดนี้ ใครเป็นคนกำหนดให้เป็นแบบนี้ และจะต้องแก้ไขอย่างไร เพราะลูกของตนคงจะไม่ต่างจากตน ที่ต้องดิ้นรนเข้ามาทำงานในเมือง ซึ่งนั่นคือความคิดของก้องในตอนนั้น
จนเวลาล่วงเลยมาถึงตอนนี้ หลายคนคงเห็นว่าภาษาอีสานเป็นภาษาที่สวยงาม เห็นได้ในสื่อทั้งเพลง ละคร ภาพยนตร์ เป็นกลุ่มที่มีบทบาททางสังคม แต่คนที่ได้สิทธินี้คือ คนที่เป็นคนดังเท่านั้น พ่อแม่พี่น้องอีกหลายคนที่เป็นคนอีสาน ยังถูกด้อยค่า ถูกกดขี่ทางสังคม ไม่ได้รับเกียรติในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง เพียงเพราะว่าเขาเป็นคนอีสาน
"อย่าปล่อยให้ความเชื่อแบบนี้ อยู่กับสังคมเราอีกต่อไปนะครับ หนึ่งคนมีหนึ่งชีวิตเท่าเทียมกัน หนึ่งคนมีเกียรติและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ทุกคนบนโลกเป็นแค่สิ่งมีชีวิต ที่มีเกิดแก่เจ็บตายไม่ต่างกัน ความเท่าเทียมกันควรบังเกิดบนโลกใบนี้ครับ"
- ระส่ำหนัก "5 คลัสเตอร์ใหม่" ทั้งจังหวัด ติดโควิด-19 เกือบ 500
- จังหวัดเดียวผู้ติดเชื้อโควิด-19 ดับวันเดียว 8 ราย ยอดสูงสุดตั้งแต่ต้นปี 63
- พระราชทานยศ ข้าราชการในพระองค์ฝ่ายตำรวจชั้นสัญญาบัตร 14 นาย
หลังจากนั้น ได้มีคนเข้ามาให้กำลังใจ ก้อง ห้วยไร่ อย่างล้นหลาม และมองว่าตอนนี้ทัศนคติของคนทั่วไปต่อคนอีสานดีขึ้นแล้ว แต่คนอีสานก็ไม่ได้อยู่ในจุดที่ถูกยอมรับมากเท่าที่ควร ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ต้องพูดและให้เกิดการตระหนักรู้ในสังคมไทย ให้มองคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะมาจากภาคใดของประเทศก็ตาม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews