เรียกเงินคืนโครงการรัฐ ระอุ หลังพ่อค้าแม่ค้าโดนเรียกเงินคืน สูงสุด 17 ล้าน

11 ตุลาคม 2564

ชาวเน็ตแห่ติด #เรียกเงินคืนโครงการรัฐ พุ่งติดเทรนด์ทวิตเตอร์ หลังพ่อค้า แม่ค้าโดนเรียกเงินคืน สูงสุด 17 ล้าน ภายใน 30 วัน

เรียกได้ว่ากำลังระอุกันเลยทีเดียวหลังมี พ่อค้าแม่ค้าโดนหนังสือเรียกจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. แจ้งผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเราชนะให้คืนเงินโครงการเราชนะ ซึ่งยอดที่โดนเรียกสูงสุดนั้น ถึง 17 ล้านบาท จนเกิดมี แฮชแท็ก #เรียกเงินคืนโครงการรัฐ ติดเทรนด์ทวิตเตอร์

แฮชแท็ก เรียกเงินคืนโครงการรัฐ ระอุ หลังพ่อค้าแม่ค้าโดนเรียกเงินคืน สูงสุด 17 ล้าน

เนื้อความในหนังสือนั้นระบุว่า "เนื่องจากมีพฤติการณ์ที่เข้าข่ายไม่ปฏิบัติตาม หรือฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขของโครงการรัฐ และไม่ได้จัดส่งเอกสารชี้แจงโต้แย้งมาภายในระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามความยินยอมที่ได้ให้ไว้ขณะเข้าร่วมโครงการฯ ให้คืนเงินภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือนี้

หากไม่เห็นด้วย สามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 15 วัน ทั้งนี้หนังสือของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ลงวันที่ 14 กันยายน 2564 ขณะที่ ผู้ประกอบการแต่ละรายก็จะถูกเรียกเงินในจำนวนที่แตกต่างกันไป ที่ปรากฎออกมามีตั้งแต่หลักแสนไปถึงหลักล้าน และที่สูงสุดที่นำมาโพสต์คือกว่า 17 ล้านบาท

แฮชแท็ก เรียกเงินคืนโครงการรัฐ ระอุ หลังพ่อค้าแม่ค้าโดนเรียกเงินคืน สูงสุด 17 ล้าน

ตามข้อมูลที่สังเกตได้พบว่า ร้านค้า ผู้ประกอบการที่โดนเรียกเงินคืนจากรัฐ มีรายงานว่าส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะ ร้านค้าที่รับสแกนแล้วแลกเป็นเงินสด โดยหักค่าธรรมเนียม 10% และ กรณีร้านค้าออนไลน์ที่รับสแกนข้ามจังหวัด ซึ่งหลังจากที่อัดฉีดเงินเข้าโครงการรัฐบาลอย่าง เราชนะ, คนละครึ่ง, ม.33 เรารักกัน และมีการอ้างว่า ไม่ใช่เฉพาะร้านค้าที่ถูกเรียกเงินคืน แต่ยังหมายถึงประชาชนทั่วไปที่อีกด้วย

 

ทั้งนี้จากการตรวจสอบเอกสารของผู้ประกอบการหลายๆ รายที่ถูกรัฐเรียกเงินคืนพบว่า หนังสือที่ได้รับ เป็นหนังสือตราครุฑ ประทับตรายาง พร้อมกับลายเซ็นกำกับ จึงคาดว่าไม่น่าใช่เอกสารปลอม ทำให้มีชาวเน็ตได้ติด #เรียกเงินคืนโครงการรัฐ จนกลายเป็นเทรนด์ทวิตเตอร์ ซึ่งหลายๆ คนก็บอกว่า ถ้าหากไม่ได้ทำผิดจริงก็น่าจะยื่นอุทธรณ์ได้ เพราะมีกฎให้ยื่นอุทธรณ์ภายใน 15 วัน

ชาวเน็ตหลายรายลงความเห็นวิเคราะห์ว่า อาจจะทำผิดเงื่อนไขในเรื่องการรับแลกเงินในเป๋าตังเป็นเงินสด หรือบางคนใช้โครงการนี้เข้าร่วมกับออนไลน์ หรือ คนที่ซื้อสินค้าอยู่จังหวัดหนึ่ง แต่ไปสแกนที่อีกจังหวัดหนึ่ง ทั้งที่มีกฎห้าม แถมจำนวนที่เรียกเงินคืนนั้นก็ค่อนข้างน่าสะพรึง เพราะโดนกันหลักแสนหลักล้าน

ทว่ากลับเกิดการตั้งคำถามถึงวิธีการจ่ายเงิน ที่หลายคนต้องการให้แจกเป็นเงินสดแทน เนื่องจากมองว่า เงินสดนั้นสามารถนำไปใช้จ่ายส่วนอื่นๆ ได้  เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำมันรถ และพ่อค้าแม่ค้าบางคน ก็โดนเรียกเก็บคืนเพราะช่วงที่แจกเงินนั้น เป็นช่วงโควิด และต้องใช้ช่องทางออนไลน์ในการขายสินค้า ร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่ก็ผิดกฎด้วยการรับคนละครึ่ง หากทางร้านไม่ทำก็จะอยู่ไม่ได้ จะพึ่งพาเฉพาะหน้าร้านอย่างเดียวก็ไม่ได้

แฮชแท็ก เรียกเงินคืนโครงการรัฐ ระอุ หลังพ่อค้าแม่ค้าโดนเรียกเงินคืน สูงสุด 17 ล้าน

อย่างไรก็ตาม ทางธนาคารกรุงไทยยังไม่มีการชี้แจงรายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทว่าก่อนหน้านี้ก้มีคำเตือนออกมาแล้วว่า ก่อนที่ที่จะเข้าร่วมโครงการจากทางภาครัฐ ทางโครงการได้มีข้อตกลงว่า หากตรวจสอบพบทุจริต จะมีการเรียกเงินคืนทั้งหมดบัญชี ไม่ใช่เพียงแค่เฉพาะรายการที่ทำทุจริตเท่านั้น

 

ขอบคุณข้อมูลจาก Tnews