ธนาคารแห่งประเทศไทย โดย นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ในฐานะประธานสมาคม ธนาคารไทย แถลงข่าวร่วมกัน เพื่อ แจงความคืบหน้า การตรวจสอบกรณีการตัดเงินที่ผิดปกติผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิต ดังกล่าว
รายงานในเบื้องต้น ผลการตรวจสอบที่ออกมาพบว่า 80-90% มาจากการดูดเงินผ่านบัตรเดบิต โดยพฤติการณ์ของคนร้ายคือการสุ่มหน้าบัตร และวันหมดอายุ เพื่อโจรกรรมเงิน และ ส่วนใหญ่จะเป็นการทำร้านค้าในต่างประเทศ
ผลตรวจสอบเบื้องต้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย และ สมาคมธนาคารไทย ใกล้เคียงกับข้อสันนิษฐานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดย พล.ต.ต. นิเวศน์ อาภาวศิน ผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี ระบุว่า จากการสอบสวนพบว่า คนร้ายมีข้อมูลหมายเลขหน้าบัตร และหลังบัตร รวมถึงวันหมดอายุของบัตร
ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยและกลุ่มผู้ประกอบการออนไลน์ถึงมาตรการป้องกัน
-สั่งปิดด่วน 22 หมู่บ้าน หลังโควิด-19 ระบาดหนักยอดติดเชื้อพุ่งไม่หยุด
-เปิดคำสารภาพสาวสอง ปมก่อเหตุสาวโรงงานเพื่อนรักที่สนิทกันมาเป็นสิบปี
-ธนาคารทั้งประเทศ รับเป็น ผู้เสียหาย เจ้าของบัญชีไม่ต้องไปแจ้งความ
สำหรับพฤติการณ์การก่อเหตุ สันนิษฐานว่าอาจเกิดจาก 3 รูปแบบ
1. เป็นการผูกบัญชีบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัญชีธนาคารเข้ากับแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น แอปพลิเคชันออนไลน์ และข้อมูลเกิดหลุดไปถึงแก๊งมิจฉาชีพ
2. การส่ง SMS หลอกลวง ที่จะส่งลิงก์มาตาม sms เข้ามือถือผู้เสียหาย และให้กรอกข้อมูลต่างๆ เช่น ปล่อยเงินกู้ ไปรษณีย์ไทย
3. การใช้บัตรเครดิต และบัตรเดบิตในชีวิตประจำวัน เช่น การให้บัตรพนักงานไปชำระค่าสินค้าและบริการในห้าง หรือการเติมน้ำมัน อาจถูกพนักงานเก็บข้อมูลเลขหน้าบัตร 16 หลัก และเลข CVC หลังบัตร 3 ตัว ซึ่งคนร้ายอาจมีการรวบรวมข้อมูลและขายต่อในตลาดมืด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews