วันนี้ (24 ต.ค.2564) ผลวิจัยจากเยอรมันวอช ระบุ 10 อันดับประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหนัก "พิษโลกร้อน" ที่สุด หนึ่งในนั้นรวมถึงประเทศไทยด้วย
โดยในขณะที่ผู้นำระดับโลกเตรียมที่จะพบกันที่กลาสโกว์สำหรับ COP26 ในวันจันทร์ ที่ 1 พฤศจิกายนเพื่อหารือเกี่ยวกับการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น "พิษโลกร้อน" ดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพอากาศประจำปี 2021 จากกลุ่มวิจัยเยอรมันวอช (Germanwatch) ระบุว่าว่าพายุที่มีพลังมากขึ้นกำลังทำร้ายผู้คนและเศรษฐกิจหนักขึ้น ขณะที่คนจนต้องทนทุกข์ทรมานกับความสูญเสียที่เลวร้าย
โดยเปอร์โตริโกและเมียนมาร์คือสองประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด จากเหตุการณ์สภาพอากาศเลวร้ายระหว่างปี 2543 ถึง 2562 รองลงมาคือเฮติ ฟิลิปปินส์ โมซัมบิก บาฮามาส บังกลาเทศ ปากีสถาน ไทย และเนปาล
นักวิจัยระบุว่า พายุที่ก่อให้เกิดลมแรง ฝนตกหนัก น้ำท่วม และดินถล่ม เป็นสาเหตุหลักของความเสียหายจากสภาพอากาศที่รุนแรงในปี 2019 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพายุหมุนเขตร้อนหรือเฮอร์ริเคนที่สร้างผลกระทบอย่างหนักในหลายประเทศ เช่น ประเทศหมู่เกาะแคริบเบียนของบาฮามาสที่ติดอยู่ใน 10 อันดับ เนื่องจากความหายนะจากพายุเฮอริเคนโดเรียนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว
ส่วนสหรัฐอเมริกาไม่ถูกนับรวมอยู่ในดัชนีปี 2019 เนื่องจากปัญหาด้านข้อมูล การวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า ยิ่งอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้นมากเท่าไหร่ โอกาสเกิดพายุหมุนเขตร้อนกำลังแรงที่มาพร้อมความเสียหายครั้งใหญ่ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย