นับตั้งแต่ปี 2560 การศึกษาร่วมกันที่ดำเนินการโดยโครงการยุงโลก ( World Mosquito Program หรือ WMP ) ที่มหาวิทยาลัยโมนาชของออสเตรเลียและมหาวิทยาลัยกัดจาห์ มาดา ในยอกยาการ์ตา ได้ปล่อยยุงจากห้องแล็บที่มีแบคทีเรีย โวลบาเชีย ( Wolbachia ) ออกสู่ "พื้นที่สีแดง" หลายแห่งที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดไข้เลือดออกในยอกยาการ์ตา
ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนมิถุนายน พบว่ายุงที่มีแบคทีเรียโวลบาเชียสามารถลดการแพร่กระจายของโรคไวรัสที่มียุงเป็นพาหะได้มากถึง 77 เปอร์เซ็นต์ และลดการรักษาในโรงพยาบาลลง 86 เปอร์เซ็นต์
การวิจัยไม่ใช่เรื่องใหม่ และมีการศึกษาที่คล้ายคลึงกันในบราซิลและเวียดนาม ซึ่งก็พบว่าการติดเชื้อลดลง 70% และ 86 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ
ในสิงคโปร์ มีการใช้วิธีการที่แตกต่างออกไปในการปล่อยยุงตัวผู้ที่มีแบคทีเรียโวลบาเชียปลอดเชื้อเพื่อให้มันไปผสมพันธุ์กับยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะของไข้เลือดออก วิธีนี้จะทำให้เกิดไข่ที่ไม่ฟักตัวและลดจำนวนยุงลงได้เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์