ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 38) ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป เป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 นั้น
โดยที่รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวตามที่นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเจตนารมณ์และแนวทางไว้ด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง เพื่อมุ่งฟื้นฟูความเป็นอยู่ ของประชาชนให้ใกล้เคียงกับภาวะปกติ การกระตุ้นเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการบริหารจัดการ ด้านสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ภาพรวมของสถานการณ์การแพร่ระบำดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รัฐบาลจึงยังคงเน้นย้ำการปฏิบัติตามแผนงานดังกล่าว เพื่อเป็นการยืนยันถึงความพร้อมและบูรณาการประสานความร่วมมือของพนักงานเจ้าหน้าที่ หน่วยงาน ภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคส่วนอื่น ๆ ของสังคม
รวมถึงการพิจารณาผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไปให้สอดคล้องกับระดับความรุนแรงของสถานการณ์การแพร่ระบาดและศักยภาพ ความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยฝ่ายสาธารณสุขได้ประเมินแล้วเห็นว่ายังมี ความจำเป็นต้องคงมาตรการที่เข้มงวดในบางเขตพื้นที่สถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรครุนแรง ต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อให้การปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ ภายใต้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไป ด้วยความมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยมุ่งหมายให้การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ และสังคมดำเนินไปควบคู่กับมาตรการด้านสาธารณสุขได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายตามคำแนะนำของศูนย์บริหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนำ 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) ดังต่อไปนี้
1. การปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดตามพื้นที่สถานการณ์ ให้ ศบค. มีคำสั่งปรับปรุง เขตพื้นที่จังหวัดจำแนกตำมเขตพื้นที่สถานการณ์ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคำสั่ง เพื่อให้ สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยให้นำมาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ที่กำหนดไว้สำหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่าง ๆ ข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ได้ประกาศไว้แล้วก่อนหน้านี้ มาใช้บังคับ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้
สำหรับพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวจะเป็นไปตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคำสั่ง ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 18/2564 เรื่อง พื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2564
2. การห้ามออกนอกเคหสถานสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ห้ามบุคคลใด ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 23.00 นาฬิกา ถึง 03.00 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น โดยใช้บังคับต่อเนื่องไปสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ทุกจังหวัดเป็นระยะเวลาอย่างน้อยสิบห้าวัน (จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564) และ ให้การกำหนดเงื่อนไขการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่และกรณีของบุคคลที่ได้รับยกเว้น ที่ได้ประกาศหรือได้อนุญาตไว้ก่อนหน้านี้ยังคงใช้บังคับต่อไป
3. การขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการควบคุมและป้องกันโรค ให้บรรดามาตรการ ควบคุมแบบบูรณาการ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และข้อปฏิบัติสำหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่าง ๆ รวมทั้งมาตรการเตรียมความพร้อมตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 37) ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ได้แก่
การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค กิจกรรมการรวมกลุ่มของบุคคลที่สามารถจัดได้ โดยไม่ต้องของอนุญาต การปฏิบัติงานนอกสถานที่ของเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ มาตรการควบคุม แบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ มาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว และการเตรียมความพร้อมของสถานบริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคทั่วราชอาณาจักร รวมถึง บรรดามาตรการ หลักเกณฑ์ หรือแนวปฏิบัติที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบกำหนดขึ้น ภายใต้ข้อกำหนดดังกล่าวยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป
อนึ่ง พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวมทั้งสิ้น 6 จังหวัด
1. จังหวัดตาก
2. จังหวัดนครศรีธรรมราช
3. จังหวัดนราธิวาส
4. จังหวัดปัตตานี
5. จังหวัดยะลา
6. จังหวัดสงขลา
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
ขอบคุณข้อมูลจาก Tnews