จากกรณี วันนี้ 15 พ.ย. เมื่อเวลา 11.00 น. ที่ กองบังคับการปราบปราม(บก.ป.) ร่วมกันแถลงผลการจับกุม นายโอซาวา สัญชาติญี่ปุ่น ผู้ต้องหาตามหมายจับคดีร่วมกันผลิตเครื่องมือทางการแพทย์โดยไม่ได้รับอนุญาต หลังจากติดตามจับได้ที่โรงแรมแห่งหนึ่งย่านเพลินจิต เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา
พ.ต.อ.เนติ กล่าวว่า สืบเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 64 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ห้วยใหญ่ จ.ชลบุรี ได้เข้าตรวจค้นโกดังแห่งหนึ่งบริเวณหมู่ 11 ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี พบกล่องบรรจุถุงมือยางทางการแพทย์ จำนวนกว่า 10,000 กล่อง และพบถุงมือยางที่รอบรรจุมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท จากการตรวจสอบพบว่าโกดังหลังดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้ผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน จนสามารถขออนุมัติศาลออกหมายจับ นายโอซาวา ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทฯ และเจ้าของโกดังดังกล่าว ตามหมายจับศาลจังหวัดพัทยา ที่ 350/2564 ลง 6 พ.ย.64 ฐาน “ร่วมกันผลิตเครื่องมือแพทย์โดยไม่ได้จดทะเบียนสถานประกอบการและผลิตเครื่องมือแพทย์ปลอม” ตาม พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2562 ต่อมาวันที่ 11 พฤศจิกายน ตำรวจ บก.ปคบ. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.สส.บช.น. สามารถจับกุมตัวนายโอซาวา ส่งพนักงานสอบสวน สภ.ห้วยใหญ่ดำเนินคดี และในวันเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุม น.ส.ศุภนิดา สงวนนามสกุล อายุ 24 ปี ภรรยาของนายโอซาวา ตามหมายจับของศาลอาญาพระโขนง ในความผิดฐาน “ฉ้อโกง” มักมีพฤติการณ์หลอกขายถุงมือยางที่ไม่ได้คุณภาพ หรือจัดส่งถุงมือยางที่ไม่ครบตามจำนวนให้กับผู้เสียหาย โดยมีผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินซื้อถุงมือยางมูลค่าความเสียหายเกือบ 4 ล้านบาท จากนั้นจึงได้นำตัวส่งพนักงานสอบสวน สน.พระโขนง ดำเนินคดี
- ตรวจสอบแล้ว หลังว่อน"พบธาตุเหล็กและโครเมี่ยม" ในแอสตร้าเซนเนก้า
- กรมอุตุฯเเจงเเล้ว ประเทศไทยเจอพายุเข้าอีก1ลูก เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง2วัน
- เมียผู้ใหญ่บ้าน เขียนป้ายปิดถนน ตากข้าวเปลือก ไม่มีรถคันไหนเข้า-ออกได้
ต่อมาในวันที่ 12 พฤศจิกายน เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้ทำการสืบสวนเพิ่มเติม โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ห้วยใหญ่ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี เข้าตรวจค้นตู้คอนเทนเนอร์จำนวน 6 ตู้ ที่ลานฝากตู้คอนเทนเนอร์ ย่าน ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี พบถุงมือยางปลอมรวมจำนวนกว่า 10 ล้านชิ้น ซึ่งตรวจสอบพบว่าเป็นของนายโอซาวาด้วยเช่นกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการตรวจยึดอายัดของกลางดังกล่าว และนำส่งพนักงานสอบสวน สภ.ห้วยใหญ่ ดำเนินคดีตามกฎหมาย
พล.ต.ต.พุฒิเดช กล่าวว่า หลังจากมีการจับกุมนายโอซาวา ดำเนินคดีตามกฎหมายเเล้ว ต่อมาทาง บก.ปอศ. ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลในสารบบพบว่า นายโอซาวา มีพฤติการณ์หลอกขายถุงมือยางทางการแพทย์ให้กับชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นจำนวนหลายราย มีผู้เสียหายซึ่งเป็นบริษัทในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้รับความเสียหายไปเป็นเงินกว่า 180 ล้านบาท และผู้เสียหายซึ่งเป็นบริษัทในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับความเสียหายไปเป็นเงินกว่า 88 ล้านบาท โดยผู้เสียหายทั้งสองบริษัทฯ ได้แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีไว้ที่ บก.ปอศ. และศาลได้ขออนุมัติหมายจับไว้แล้ว ตามหมายจับของศาลอาญากรุงเทพใต้ ที่ จ.577/2564 ลง 12 พฤศจิกายน 64 และหมายจับของศาลอาญา ที่ 1916/2564,1917/2564 ลง 12 พฤศจิกายน 64 ในความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกง, ร่วมกันผลิตเครื่องมือแพทย์โดยไม่ได้จดทะเบียนสถานประกอบการ, ร่วมกันผลิตเครื่องมือแพทย์โดยไม่ได้รับอนุญาต, และร่วมกันผลิตเครื่องมือแพทย์ปลอม”
ต่อมาวันที่ 13 พฤศจิกายน หลังจากที่นายโอซาวา ได้รับการประกันตัวจากการถูกจับกุมในคดีก่อนหน้า เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปอศ. จึงได้สืบสวนติดตามจับกุมนายโอซาวาฯ ซึ่งเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของบก.ปอศ. อีก 2 หมายจับ โดยสามารถจับกุมนายโอซาวา ได้ที่บริเวณซอยจอมเทียน 5 ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี หลังจากนั้นจึงได้นำตัวนายโอซาวา ส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปอศ. ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
จากการสืบสวนขยายผล เจ้าหน้าที่ตำรวจพบว่านายโอซาวา มีบัญชีเงินฝากที่มีการถ่ายโอนทรัพย์สินให้กับคนใกล้ชิด และครอบครองรถยนต์หรูไว้เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้พฤติการณ์ในการหลอกลวงขายถุงมือยางของนายโอซาวา มักจะกระทำผิดในรูปแบบเดียวกันเป็นจำนวนหลายครั้ง ฉวยโอกาสในช่วงขาดแคลนถุงมือยางในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ซึ่งมีผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเป็นจำนวนหลายคดี มีบางคดีที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นบริษัทต่างชาติยื่นฟ้องต่อศาลเอง นอกจากนี้ยังมีผู้เสียหายรายอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างรวบรวมเอกสารหลักฐานเพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับนายโอซาวา รวมมูลค่าความเสียหายแล้วประมาณ 286 ล้านบาท
สอบสวนผู้ต้องหายังให้การภาคเสธ ว่าตัวเองถูกฉ้อโกงมาอีกที และยอมรับว่าที่ผ่านมาเคยเกี่ยวข้องกับแก๊งยากูซ่าอันดับต้นๆ ในประเทศญี่ปุ่นมาก่อน เข้ามาทำอาชีพสอนภาษาอังกฤษ และญี่ปุ่นในพื้นที่ภาคอีสาน ในประเทศไทยได้ประมาณ 3 ปี จนช่วงโควิด-19 โรงเรียนปิดตัวลงไป ทำให้อาศัยช่วงนี้ในการผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ทางการแพทย์โดยเฉพาะถุงมือยางที่ไม่ได้มาตรฐานออกจำหน่าย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews