จากกรณี เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2564 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
โดยได้มีการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ซึ่งระบุรายละเอียดไว้ว่า ไวรัสโคโรนาในหมูติดคนได้ ซึ่งพบในเด็กเฮติ สุกรเป็นสัตว์ที่ติดไวรัสโคโรนาได้หลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นไวรัสที่ทำให้ลูกสุกรท้องเสีย เพราะไวรัสไปทำลายเซลล์ในลำไส้ ไวรัสโคโรนาในสุกรล่าสุดชื่อว่า Porcine Deltacoronavirus (PDCoV) เป็นไวรัสที่ปกติพบได้ในสัตว์ปีก เชื่อว่า กระโดดมาหาสุกรและเกิดการะบาดได้ พบได้ในหลายประเทศเช่น จีน และ สหรัฐอเมริกา ในประเทศไทยเองก็พบไวรัสชนิดนี้ในสุกร แต่มีไม่มากและไม่ได้ก่อปัญหาอะไรมากมายเท่าไวรัสโคโรนาตัวอื่นๆ
ประเด็นสำคัญวันนี้คือ Nature รายงานว่า ไปพบเด็ก 3 คนในประเทศเฮติ ติดเชื้อ PDCoV ได้ แต่อาการป่วยไม่รุนแรง มีอาการไข้ ท้องเสียเล็กน้อยเท่านั้น การที่นักวิจัยไปแยกเชื้อไวรัสได้จากคน แสดงว่า PDCoV สามารถกระโดดจากหมูมาสู่คนได้เหมือนกัน แต่น่าจะยังไม่ถึงระดับการแพร่จากคนสู่คนได้ดีเหมือนกับ SARS-CoV-2 และ ไม่ชัดเจนว่า PDCoV จะแพร่ด้วยวิธีใด คาดว่าไม่น่าจะทางเดินหายใจแต่ผ่านทางการกิน หรือ สัมผัสมากกว่า
อ้างอิง : https://www.nature.com/articles/s41586-021-04111-z
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews