สังคม

heading-สังคม

ดร.อนันต์ ชี้โควิดกลายพันธุ์ B.1.1.529 พบความน่ากังวล ท้าทายปี 2565

27 พ.ย. 2564 | 12:34 น.
ดร.อนันต์ ชี้โควิดกลายพันธุ์ B.1.1.529 พบความน่ากังวล ท้าทายปี 2565

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ชี้โควิดกลายพันธุ์ B.1.1.529 พบคุณสมบัติหลายอย่างน่ากังวล เป็นความท้าทายปี 2565

จากกรณี วันที่ 27 พ.ย. 64  นักไวรัสวิทยา ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุถึง โควิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ หรือ B.1.1.529 ซึ่งระบุข้อความว่า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ในมุมมองของนักไวรัสวิทยา ไวรัสสายพันธุ์ B.1.1.529 ที่กำลังระบาดในประเทศแอฟริกาใต้ตอนนี้มีคุณสมบัติหลายประการที่น่ากังวล ถึงแม้ข้อมูลการระบาดของไวรัสสายพันธุ์นี้ยังมีไม่มาก แต่การเตรียมการป้องกันไว้ล่วงหน้าคงจะดีกว่าการแก้ไขปัญหาหลังจากที่ไวรัสระบาดไปในวงกว้างแล้ว

 

ดร.อนันต์ ชี้โควิดกลายพันธุ์ B.1.1.529 พบคุณสมบัติหลายอย่างน่ากังวล


ไวรัสสายพันธุ์นี้เชื่อว่าเกิดจากการบ่มเพาะตัวเองในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี ไวรัสมีโอกาสปรับตัวเองหนีภูมิคุ้มกันได้ง่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับสายพันธุ์น่ากังวลอื่นๆที่ผ่านมา แต่ความน่ากังวลอยู่ที่ไวรัสชนิดนี้มีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นหลายตำแหน่งมาก จนทำให้องค์ความรู้ต่างๆที่เคยมีมาก่อนกับไวรัสสายพันธุ์อื่นๆที่ใกล้เคียงกันอาจจะใช้อธิบายพฤติกรรมของไวรัสสายพันธุ์นี้ได้ไม่แม่นยำนัก ในบรรดาตำแหน่งที่พบการกลายพันธุ์ สรุปประเด็นหลักๆได้ดังนี้

 

1. ตำแหน่งที่โปรตีนหนามสไปค์จับกับโปรตีนตัวรับ (RBD) มีการเปลี่ยนแปลงหลายตำแหน่งมากแบบที่ไม่เคยพบในสายพันธุ์อื่นๆมาก่อน ซึ่งทำให้แอนติบอดีที่สร้างขึ้นจากวัคซีนจะจับกับโปรตีนตำแหน่งนี้ไม่ได้ดี รวมถึงยาที่ออกแบบมาจากแอนติบอดีรักษาด้วย


2. ตำแหน่ง 3 ตำแหน่งที่ใกล้จุดตัดตัวเองของโปรตีนหนาม คือ H655Y, N679K และ P681H เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่อาจทำให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ง่ายและแพร่กระจายตัวเองได้ไวขึ้น 


3. การเกิดขาดหายไปของกรดอะมิโนที่โปรตีนชื่อว่า Nsp6 (Delta 105-107) ซึ่งพบว่าไปตรงกับสายพันธุ์แอลฟ่า เบต้า แกมม่า และ แลมป์ดา ซึ่งเชื่อว่าช่วยให้ไวรัสหนีภูมิคุ้มกันชนิด innate immunity ที่ร่างกายจะตอบสนองต่อการติดเชื้อแบบฉับพลันหลังติดเชื้อได้


4. การเปลี่ยนแปลงของโปรตีน Nucleocapsid 2 ตำแหน่งสำคัญคือ R203K และ G204R ซึ่งพบได้ในสายพันธุ์แอลฟ่า แกมม่า และ แลมป์ดา ซึ่งมีรายงานว่า การเปลี่ยนแปลงนี้จะช่วยให้ไวรัสติดเชื้อเข้าสู่เซลล์ได้ดีขึ้น

 

ดร.อนันต์ ชี้โควิดกลายพันธุ์ B.1.1.529 พบคุณสมบัติหลายอย่างน่ากังวล


ดูเหมือนว่าการกลายพันธุ์ที่พบได้ในไวรัส B.1.1.529 มีส่วนช่วยหนุนให้ไวรัสตัวนี้เป็นไวรัสที่อาจจะเป็นสายพันธุ์น่ากังวลตัวใหม่ได้ ข้อมูลจากแอฟริกาใต้ดูเหมือนจะพบไวรัสสายพันธุ์นี้มากขึ้นเรื่อยๆ และ กราฟที่ขึ้นสูงนี้อาจจะมาจากความสามารถของไวรัสที่หนีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้ และ มีคุณสมบัติการแพร่กระจายที่ดี...เราคงต้องเตรียมตัวรับมือกับไวรัสตัวนี้แบบจริงจังแล้วครับ...ตัวนี้อาจจะเป็นความท้าทายของปี 2022 ที่ต้องเหนื่อยกันต่อไป"

 

ดร.อนันต์ ชี้โควิดกลายพันธุ์ B.1.1.529 พบคุณสมบัติหลายอย่างน่ากังวล

 

ขอบคุณ FB :  Anan Jongkaewwattana

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

"แบม ไพลิน" ท้าเปิดหลักฐานค่าเลี้ยงดูลูก ลั่น อย่ามาวุ่นวาย

"แบม ไพลิน" ท้าเปิดหลักฐานค่าเลี้ยงดูลูก ลั่น อย่ามาวุ่นวาย

"ผ่องศรี วรนุช" เสียชีวิตอย่างสงบ เปิดประวัติศิลปินชั้นครู

"ผ่องศรี วรนุช" เสียชีวิตอย่างสงบ เปิดประวัติศิลปินชั้นครู

เปิดชื่อลูกสาว "น้องฝน" สาวป.โทวัย 26 ปี บอกเลยเพราะมาก

เปิดชื่อลูกสาว "น้องฝน" สาวป.โทวัย 26 ปี บอกเลยเพราะมาก

ท่าที หมอแว่น ก่อนคืนลูกให้ อดีตภรรยา หลัง ดร.ธนกฤต ถามจะอุ้มมั้ย

ท่าที หมอแว่น ก่อนคืนลูกให้ อดีตภรรยา หลัง ดร.ธนกฤต ถามจะอุ้มมั้ย

โหรรัตนโกสินทร์ เตือน 3 ลัคนา อย่าประมาท ระวังอุบัติเหตุและปัญหา

โหรรัตนโกสินทร์ เตือน 3 ลัคนา อย่าประมาท ระวังอุบัติเหตุและปัญหา