นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ในเพจ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ได้เผยถึงเรื่อง การรับมือโรคอุบัติใหม่ โควิด19 สายพันธุ์ "โอไมครอน"
การรับมือโรคอุบัติใหม่คือการประเมินสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เพื่อที่จะเตรียมรับมือแต่เนิ่นๆ
ถ้าไม่เลวร้ายก็ไม่เป็นไร
โอไมครอน มีการยกระดับการแพร่กระจายได้เร็วในประเทศแอฟริกาใต้และจากที่สงบ เริ่มเห็นมีการระบาดใหม่จากตัวนี้เอง
และต่อมาเริ่มเห็นอาการหนักประกอบกับโครงสร้างมีการปรับเปลี่ยนในหลายท่อนของรหัสพันธุกรรมที่ทำให้ติดง่ายแพร่กระจายและอาจรวมไปถึงการดื้อต่อภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติและที่ได้จากวัคซีน
ทั้งนี้จะเห็นจากประเทศที่มีการติดเชื้อจะมีผู้ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์หรืออื่นๆครบแล้ว
การไม่พบอาการหนักมาก เป็นลักษณะปกติของไวรัสโควิดที่ผ่านมาสองปีโดยไม่มีอาการมากถึง 80 กว่า% และจะค่อยๆเริ่มเห็นอาการจนอาการหนักในกลุ่มที่เหลือ
ดังนั้นเมื่อมีการติดเชื้อแพร่เป็นหลาย 1000 หลาย 10,000 คนจะเริ่มเห็นผู้ที่มีอาการมากขึ้นตามสัดส่วน
องค์การอนามัยโลกจัดเป็นกลุ่มไวรัสที่ "ต้องกังวล" และให้ความใส่ใจ variant of concern
ขอบคุณข้อมูลจาก Tnews