สังคม

heading-สังคม

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ชี้ทางรอดเดียว ที่จะต่อสู้กับ "โอไมครอน"

29 พ.ย. 2564 | 23:22 น.
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ชี้ทางรอดเดียว ที่จะต่อสู้กับ "โอไมครอน"

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เผยข้อมูลโควิดโอไมครอน (Omicron) สร้างความกังวลใจแก่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก โดยมีการกลายพันธุ์ถึง 32 ครั้งในโปรตีนส่วนหนาม ย้ำ ไม่ว่าเชื้อกลายพันธุ์จะรุนแรงหรือไม่ ทุกคนยังคงต้องฉีดวัคซีนโดยเร็ว

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ภายหลังที่พบการระบาดของเชื้อไวรัสโควิดกลายพันธุ์ (สายพันธุ์ B.1.1.529) หรือ "สายพันธุ์โอไมครอน" ในแอฟริการใต้ และองค์การอนามัยโลกได้ออกมาเตือนพร้อมระบุว่า โควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน จัดอยู่ในกลุ่ม "สายพันธุ์ที่น่ากังวล"  (Variant of Concern) เนื่องจากเจ้าไวรัสตัวใหม่นี้มีการกลายพันธุ์ถึง 32 ครั้งในโปรตีนส่วนหนาม ซึ่งอาจส่งผลให้เชื้อสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเดิม ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น แพร่กระจายได้เร็วกว่าและเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนหรือยังไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้น

ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ Chulabhorn Royal Academy ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ โควิดสายพันธุ์ใหม่ โอไมครอน (Omicron) โดยระบุข้อความว่า ....

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อโอไมครอน 107 รายใน 4 ประเทศ โดยพบที่ประเทศแอฟริกาใต้ 100 ราย บอสวานา 4ราย ฮ่องกง 2 ราย และอิสราเอล 1 ราย มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ "สายพันธุ์โอไมครอน" มีลักษณะการกลายพันธุ์ที่น่ากลัว แบบที่ยังไม่เคยปรากฏมาก่อน คือ การกลายพันธุ์ในโปรตีนส่วนหนามมากถึง 32 ตำแหน่ง ยิ่งกว่านั้น ยังมีการกลายพันธุ์ที่เอนไซม์ ทำหน้าที่ตัดทะลวงเข้าเซลล์เพื่อทำให้ติดเชื้อถึง 2 จุด ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่พบการกลายพันธุ์ 2 จุด ในเชื้อตัวเดียว สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังในตอนนี้คือ เชื้อตัวใหม่นี้จะทให้เกิดการแพร่ระบาด สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังในตอนนี้ก็คือเชื้อตัวใหม่จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดในวงกว้างหรือจะเป็นแค่คลัสเตอร์ในวงจำกัด

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ชี้ทางรอดเดียว ที่จะต่อสู้กับ "โอไมครอน"


-หมอธีระ สรุปประกาศองค์การอนามัยโลก 5 ข้อ เกี่ยวกับ โควิด "โอไมครอน"
-ควันหลงเลือกตั้ง อบต. 2 คนดังโซเชี่ยล หมอลำคนแรกนั่งนายกอบต.
-หน่อง อรุโณชา เคลื่อนไหวเผยอาการล่าสุด “เบลล่า” หลังลือสนั่นเลิก เวียร์!

ไม่ว่าเชื้อไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 จะกลายพันธุ์กี่ครั้ง หรือตัวล่าสุดนี้จะทำให้เกิดการระบาดรุนแรงกว่าเดิมหรือไม่ สิ่งที่ยังคงต้องดำเนินการต่อไปคือการกระจายวัคซีนทั้งปฐมภูมิและกระตุ้นภูมิให้ครอบคลุมและรวดเร็ว เพื่อให้ทุกคนมีระดับภูมิคุ้มกันในตัวที่พอดี ทั่วทั้งประเทศและทั่วทุกประเทศ มิฉะนั้น เจ้าเชื้อไวรัสก็จะสามารถแอบไปกลายพันธุ์ในกลุ่มประชากรที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไป


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews
 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

"โตโน่ ภาคิน" เปิดใจครั้งแรกบนเวที พร้อมลั่นประโยคเจ็บจี๊ด

"โตโน่ ภาคิน" เปิดใจครั้งแรกบนเวที พร้อมลั่นประโยคเจ็บจี๊ด

สีเสื้อต้องเลี่ยง 14 เมษายน 2568 วันสงกรานต์ควรเลี่ยงสีอะไร

สีเสื้อต้องเลี่ยง 14 เมษายน 2568 วันสงกรานต์ควรเลี่ยงสีอะไร

เปิดภาพล่าสุด "จำลอง ศรีเมือง" นั่งรถเข็นไฟฟ้า เยี่ยมชมตลาด

เปิดภาพล่าสุด "จำลอง ศรีเมือง" นั่งรถเข็นไฟฟ้า เยี่ยมชมตลาด

สงกรานต์ 2568 สรงน้ำพระที่บ้าน เสริมสิริมงคลรับปีใหม่ไทย

สงกรานต์ 2568 สรงน้ำพระที่บ้าน เสริมสิริมงคลรับปีใหม่ไทย

รู้หรือเปล่า คน 5 กลุ่ม ห้ามกินขนุน หวานมันถูกปาก เสี่ยงสุขภาพพัง

รู้หรือเปล่า คน 5 กลุ่ม ห้ามกินขนุน หวานมันถูกปาก เสี่ยงสุขภาพพัง