จากกรณี เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 39) คลายล็อคมาตรการควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด ให้ยกเลิกมาตรการห้ามออกนอกเคหสถานสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ตั้งเเต่เวลาห้าทุ่ม(23.00น.)คืนนี้30 พ.ย.64 ยกเลิกเคอร์ฟิวพื้นที่สีเเดงเข้ม
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป อย่างต่อเนื่องเป็นระยะ นั้น
โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศไทยในห้วงเวลา ที่ผ่านมามีแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นลำดับ การระบาดที่ตรวจพบจะเกิดขึ้นเฉพาะในบางเขตพื้นที่หรือในบางจังหวัด ที่พนักงานเจ้าหน้ำที่สามารถเข้าควบคุมสถานการณ์และจำกัดพื้นที่โดยมีมาตรการเฝ้าระวังและกำกับ ติดตามการระบาดอย่างใกล้ชิด
ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทุกภาคส่วนในการเฝ้าระวัง และการจัดหาวัคซีนให้กับประชาชนสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายประกอบกับ ศักยภาพด้านสาธารณสุขของไทยที่เข้มแข็ง ทำให้สามารถจัดหาทรัพยากรทางสาธารณสุขที่จำเป็น เพื่อบริการแก่ประชาชนได้อย่างครอบคลุม
ฝ่ายสาธารณสุขจึงได้ประเมินภาพรวมของสถานการณ์และ มีข้อเสนอแนะให้พิจารณาปรับระดับพื้นที่และผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ลงได้ในระดับหนึ่ง เพื่อให้ รัฐบาลดำเนินการตามแผนและนโยบายการเปิดประเทศและผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไปตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจควบคู่กับการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมุ่งเน้นต่อความปลอดภัยของประชาชน
โดยยังมีความจำเป็นต้องคงไว้ ซึ่งมาตรการสำหรับการดำเนินกิจกรรมกิจการต่าง ๆ ภายใต้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและสังคมดำเนินไปควบคู่กับมาตรการด้านสาธารณสุขได้อย่างสมดุล เข้มแข็ง และยั่งยืน เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้ใกล้เคียงกับสภาวะปกติ อย่างรวดเร็วในอนาคตอันใกล้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔
นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายตามคำแนะนำของศูนย์บริหำร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนำ 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดตามพื้นที่สถานการณ์และการกำหนดพื้นที่นำร่อง ด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ให้ ศบค. มีคำสั่งเพื่อปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดจำแนกตามเขตพื้นที่สถานการณ์ และกำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคำสั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และดำเนินการตามแผนการเปิดประเทศ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล
โดยให้นำมาตรการควบคุมแบบบูรณาการที่กำหนดไว้สำหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่าง ๆ ข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ได้ประกาศไว้แล้วก่อนหน้านี้มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัด หรือแย้งกับข้อกำหนดนี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเตรียมการด้านบุคลากร สถานที่ และ ประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้งเตือนให้ประชาชนและเจ้าหน้ำที่เตรียมพร้อมเพื่อการดำเนินการตามมาตรการ ข้อห้ามและข้อปฏิบัติต่าง ๆ เป็นการล่วงหน้า
ข้อ ๒ การยกเลิกการห้ามออกนอกเคหสถานสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้ยกเลิกมาตรการห้ามออกนอกเคหสถานสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเฉพาะเหตุอันเนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ตามข้อ ๒ แห่งข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๓๘) ลงวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ทั้งนี้ การยกเลิกดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่เวลา ๒๓.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ การขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการควบคุมและป้องกันโรค ให้บรรดามาตรการ ควบคุมแบบบูรณาการ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และข้อปฏิบัติสำหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่าง ๆ รวมทั้ง มาตรการเตรียมความพร้อมที่ได้กำหนดไว้แล้วตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๓๗) ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้แก่ การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค กิจกรรมการรวมกลุ่มของบุคคลที่สามารถจัดได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต การปฏิบัติงานนอกสถานที่ของเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ มาตรการควบคุม แบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่องด้าน การท่องเที่ยว รวมถึงบรรดามาตรการ หลักเกณฑ์ หรือแนวปฏิบัติที่พนักงานเจ้ำหน้าที่หรือหน่วยงาน ที่รับผิดชอบกำหนดขึ้นภายใต้ข้อกำหนดดังกล่าวยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป
ในส่วนของมาตรการควบคุมและป้องกันโรคสำหรับสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ หรือสถานที่อื่นที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการ โดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจ ช่วยเหลือและให้การสนับสนุนการเตรียมการของผู้ประกอบการ ตามความเหมาะสมและตามกรอบอำนาจหน้าที่ เพื่อให้สถานที่ดังกล่าวมีความพร้อมสำหรับการเปิด ให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างปลอดภัย โดยเฉพาะสถานบริการหรือสถานที่ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่นำร่อง ด้านการท่องเที่ยวหรือในพื้นที่ที่มีความพร้อม โดยรัฐบาลจะได้พิจารณาความเหมาะสมจากข้อมูล การประเมินสถานการณ์ของฝ่ายสาธารณสุข เพื่อให้มีการดำเนินการตามแผน นโยบาย และตามกรอบเวลาที่กำหนดต่อไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
เเละได้มีคำสั่งศูนย์บริหำรสถำนกำรณ์กำรแพร่ระบำดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนำ 2019 (โควิด - 19)
ที่ ๒๒/๒๕๖๔
ปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวฉบับใหม่ดังนี้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews