"หมอธีระวัฒน์"ตีแผ่ชัด ประพฤติ นิสัยเสีย สันดานเลว ข้าราชการ

01 มกราคม 2565

"หมอธีระวัฒน์" ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา โพสต์ข้อความระบุ ถึงหัวข้อ ความประพฤติ…นิสัย…มันจะเปลี่ยนกันได้ไหม? ประพฤติ นิสัยเสีย สันดานเลว ข้าราชการ

"หมอธีระวัฒน์" ระบุข้อความว่า

ความประพฤติ…นิสัย…มันจะเปลี่ยนกันได้ไหม?

31 ธันวาคม 2021

ประพฤติ นิสัยเสีย สันดานเลว

ข้าราชการ

"หมอธีระวัฒน์"

กว่าจะเกิดเป็นนิสัย เกิดการติดขึ้นมาได้ จะต้องมีขั้นตอน กระบวนการจารึกเข้าไปในสมองส่วนจำเพาะ

คนที่ติดการพนันจะมีปฏิกิริยาโต้ตอบต่อผลของการแพ้ชนะต่างกับคนทั่วไป โดยที่คนติดหวยเมื่อผลออกมาเฉียดฉิวจะรู้สึกว่า เนี่ย…ถ้าตีเลข ตีฝันดีอีกสักนิดงวดหน้าคุ้มถูกแน่ ทั้งๆ ที่เสียเงินไปแล้วก็ตาม

แต่คนปกติ “เสีย” ก็คือ “เสีย” และเกิดความสำนึก “เฮ้ย…เสียเยอะเลิกเล่นดีกว่า”

ที่ว่ามีส่วนสมองจำเพาะทำให้ติดย้ำทำอยู่เดิมๆ มีตัวอย่างให้เห็นในปี 2008 ที่ศาลสั่งให้บริษัทยาจ่ายเงินเป็นจำนวน 8.2 ล้านเหรียญ แก่คนที่เสียพนันไป 250,000 เหรียญ เพราะยาที่ใช้ทำให้มีสารเคมีที่เฉพาะเจาะจงต่อสมองที่ยื้อที่จะทำเช่นนั้นตลอด

กว่าที่จะเกิดเป็นนิสัย (สันดาน) ได้จะเริ่มด้วยการฟอร์มความประพฤติก่อน โดยสมองส่วนหน้า Prefrontal Cortex จะมีสัญญาณต่อกับสมองล้ำลงไปส่วน Striatum ซึ่งต่อกับก้านสมองส่วนตัน Midbrain จากวงจรแรกนี้จะปรับตัวเองว่าควรจะมีรูปแบบการประพฤติแบบไหนที่เวิร์คสุด และเมื่อลองประพฤติซ้ำในรูปแบบดังกล่าวบ่อยขึ้น จะเกิดวงจรที่ 2 ระหว่าง Striatum ของวงจร ที่1 ต่อกับสมอง Sensorimotor และต่อไปจะเริ่มจดบันทึกลงใน Striatum ซึ่งมีสาร Dopamine จาก Midbrain คอยตอกย้ำ

วงจรที่ 3 คราวนี้จะเป็นการถาวร โดยวงจร 2 จะมีสมองอารมณ์พฤติกรรม Infralimbic Cortex เพื่อจารึกนิสัยให้เป็นสันดานติดทนใน Striatum ทั้งนี้โดยสาร Dopamine เป็นตัวส่งเช่นเดิม เกิดเป็นสันดานมีพฤติกรรมซ้ำซาก

การดัดสันดานต้องทำการกดเนื้อสมองที่ถูกจารึกไปแล้วไม่ให้เป็นตัวครอบครองกำหนดพฤติกรรม

"หมอธีระวัฒน์"

ข้อมูลเหล่านี้ออกมาปรากฏประมาณปี 2012 และทำให้เป็นครรลองของความประพฤติ ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น จะกลับบ้านทางไหน ถนนไหน การที่ไม่สามารถเปลี่ยนจากครรลองเดิมได้จะเป็นสันดานหรือเช่นการติดสารเสพติด ติดรูปแบบการกระทำที่แม้จะเลวแสนเลวก็เปลี่ยนไม่ได้และรวมไปถึงการติดเหล้า ติดบุหรี่

ในรายงานของปี 2017 วงจรสันดานอาจมีความกว้างขวางขึ้นใน Orbitofronal Cortex (OFC) ซึ่งเป็นวงจรสมองของการตัดสินใจโดยมีสารเคมีคล้ายกับกัญชาเกิดขึ้นตามธรรมชาติในสมองหรือ Endocannabinoids เข้ามาเกียวข้อง

สารกัญชาในสมองตามธรรมชาตินี้มีส่วนในความเจริญอาหาร ความเจ็บปวด อารมณ์ และความจำ และผลสุขจากกัญชา

การทดลองปิดระบบวงจรนี้มีผลทำให้คงทำตามสันดานเดิมไม่สามารถปรับเปลี่ยนไปให้มีพฤติกรรม ความประพฤติ การกระทำอย่างอื่น โดย Endocannabinoids นี้อาจจะเป็นตัวสำคัญอีกตัวหนึ่งที่กดการทำงานของสมอง OFC ที่จะส่งสัญญาณไปหา Dorsomedial Sriatum

เช่นถ้าปิด วงจรนี้จะกลับบ้านด้วยทางซ้ำซาก แม้รถจะติดแสนสาห้ส นักท่วม

การทดลองในหนูซึ่งขจัดตัวรับสัญญาณ Endocannabinoid Type 1 receptor ทำให้หนูมีทางเลือกที่จะปฏิบัติซ้ำซาก หรือเลือกวิธีปฏิบัติใหม่ที่สมเหตุสมผลกว่า

คนที่ฆ่าคน โจรกรรม ข่มขืน ซ้ำซาก ข้าราชการ ไม่เห็นหัวคนเดือดร้อน เอาตัวรอด จะรอให้มีการผลิตยาซึ่งในคนรออีกชาติหน้าในการลบสันดานในวงจรที่ 3 และใน OFC ได้ การเกิดสันดานเป็นกระบวนการต่อเนื่องเพาะบ่มผ่านการคัดกรองการกระทำและซ้ำซาก เป็นนิสัยที่แก้ไม่หาย

คนที่โกงคอร์รัปชั่น ข้าราชการเลว เลียแข้งขา เป็นอีกตัวอย่าง โดยเก๋ไปกว่านั้นที่ “ตอแหล” ว่าโกงโดยสุจริต คงไม่ต้องตัดสมองบางส่วนในพวกนี้ ตัดทั้งหัวน่าจะเป็นทางออกและวิธีที่ดีที่สุด ที่ทุกคนยอมรับได้

ข้อมูลคลิก