วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป สปสช.ยกระดับบริการ 30 บาทรักษาทุกที่ ประชาชนที่เจ็บป่วย ไปรับบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ สิทธิบัตรทอง 30 บาท ของเดิม (หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ประชาชนมีหน่วยบริการประจำ (สถานพยาบาล) ที่ลงทะเบียนไว้ หากประชาชนไปรักษาที่หน่วยบริการ (สถานพยาบาล) ที่ไม่ได้ลงทะเบียนไว้ จะถูกเรียกเก็บเงิน หรือต้องกลับไปรับใบส่งตัว
บริการใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2565
- ประชาชนยังคงเข้ารักษาที่หน่วยบริการประจำ (สถานพยาบาล) ที่ลงทะเบียนไว้
- แต่กรณีมีความจำเป็นหรือเหตุสมควรสามารถเข้ารักษาที่หน่วยบริการปฐมภูมิอื่นๆ ได้ โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ไม่ถูกเรียกเก็บเงิน
“ประชาชนสิทธิบัตรทอง 30 บาทหรือสิทธิ สปสช. (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) หากเกิดภาวะเจ็บป่วย จำเป็นต้องรับการรักษา เช่น ยาหมด ทำแผลต่อเนื่อง เจ็บ ไข้ ไอ ปวด เป็นต้นสามารถเข้ารับบริการผู้ป่วยนอกได้ที่หน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปรับใบส่งตัวจากหน่วยบริการที่ลงทะเบียนไว้”
การใช้สิทธิ
1.ติดต่อที่หน่วยบริการปฐมภูมิที่เข้ารับการรักษา
2.แจ้งความจำนงใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพก่อนรับบริการ
3.แสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี แสดงสำเนาสูติบัตร (ใบเกิด)
ข้อมูลเพิ่มเติม โทรสายด่วน สปสช. 1330 ตลอด 24 ชั่วโมง “ผู้ใช้สิทธิบัตรทองอุ่นใจ เจ็บป่วยจำเป็นต้องรักษาเมื่อไหร่ เข้ารับบริการผู้ป่วยนอกได้ที่หน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ ทั่วประเทศ” หมายเหตุ บริการปฐมภูมิ คือ บริการสุขภาพด่านแรกของระบบบริการสาธารณสุข ซึ่งมีบทบาทในการดูแลสุขภาพประชาชนในท้องถิ่นโดยเน้นการป้องกันไม่ให้ป่วย หากเจ็บป่วยจะได้รับการดูแลรักษาเบื้องต้น (และครอบคลุมในกรณีที่จำเป็นจะต้องส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่รักษาโรคซับซ้อนมากขึ้น) ทั้งนี้รวมถึงบริการฟื้นฟูสุขภาพด้วยตัวอย่างหน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น สถานีอนามัย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.), หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึง คลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1330 ตลอด 24 ชม. หรือ คลิกที่นี่ เพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. @nhso #สปสช #สิทธิบัตรทอง #สิทธิสปสช #หลักประกันสุขภาพ #ปฐมภูมิทุกที่ #30บาททุกที่