สืบเนื่องมาจากการที่ กรมปศุสัตว์ ออกประกาศประเทศไทยพบโรค ASF โดยได้ตรวจพบการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) African Swine Fever หลังสุ่มตรวจตัวอย่างสุกรในจังหวัดนครปฐม พร้อมวอนประชาชนอย่าตระหนก เป็นโรคติดต่อเฉพาะสุกร ย้ำชัดไม่แพร่ระบาดติดต่อสู่คน ผู้บริโภคทานเนื้อสุกรได้อย่างปลอดภัย โดยจะต้องให้ความร้อนปรุงสุกที่อุณหภูมิสูงกว่า 70 องศาเซลเซียส
โดยบรรดาเกษตรกรเลี้ยงหมูต่างประสบปัญหา ซึ่งรายของคุณป้าจินตนา แจ่มจำรัส อายุ 75 ปี เกษตรกรผู้มีอาชีพเลี้ยงสุกรมาตั้งแต่อายุ 18 ปี ใน ต.ทัพหลวง อ.เมือง จ.นครปฐม กับสุกรแม่พันธุ์ 3 ตัวสุดท้าย ที่เลี้ยงไว้แบบไม่ต้องมีมาตรการป้องกันมากนัก
เพื่อทดลองดูว่า จะสามารถมีชีวิตรอดจากโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ได้หรือไม่ ซึ่งถ้ารอดตายไปได้ ก็อาจจะหมายถึงความหวังเล็กๆ ครั้งใหม่ ที่แม่สุกรอาจจะมีภูมิต้านทานโรค และส่งต่อภูมิไปยังลูกหลาน
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 ที่เริ่มมีสุกรในฟาร์มตายลงด้วยโรค ASF คุณป้าจินตนา ได้มีโอกาสไปอบรมการป้องกันการระบาดของโรค ASF หลายครั้ง และปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันทุกอย่าง แต่สุดท้ายก็ต้านไม่ไหว ต้องยอมเสียแม่พันธุ์กว่า 200 ตัวไปอย่างจำยอม
-สวนวิกฤตหมูแพง ปชช.หันมาบริโภค "เนื้อจระเข้" ถูกกว่ารสชาติดีโปรตีนสูง
-สังเกตตัวเองด่วน อาการที่ต้องเลื่อนฉีดวัคซีน ลดโอกาสเกิดอาการข้างเคียง
-ลุ้นข่าวดี คลังนัดถก "เลื่อนคนละครึ่งเฟส4" ใส่เงินเข้าแอปฯเป๋าตังเร็วขึ้น
เช่นเดียวกับ คุณลุงพนม จิตใจเย็น วัย 65 ปี ซึ่งฟาร์ม อยู่ห่างไปไม่ไกลนัก ก็พบสุกรเริ่มป่วยในเวลาไล่เลี่ยกัน จนสุดท้ายต้องใช้รถแมคโคร ขุดหลุมฝังสุกรทั้งหมด เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ตนเชื่อว่า สุกรในระบบขณะนี้ ไม่น่าเหลือเกิน 30% ของที่เคยมี เพราะเท่าที่ทราบมา เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร รายย่อย และขนาดกลาง ในจังหวัดนครปฐม แทบไม่มีใครมีสุกรอยู่ในมือแล้ว จึงไม่แปลกใจที่ราคาเนื้อสุกรจะสูงขึ้นมาก
cr.
กอบภัค พรหมเรขา nationphoto