จากกรณีอัพเดทข่าวล่าสุด สถานการณ์โควิด-19 โอไมครอนประเทศไทย วันนี้ 17ม.ค.65 อัพเดตล่าสุดประเทศไทยพบผู้เสียชีวิตจากโอมิครอน เป็นรายที่ 2 หลังจากเมื่อวานนี้ได้มีผู้เสียชีวิตรายเเรกที่ อ.หาดใหญ่ สงขลา
ล่าสุดนั้น ในส่วนเรื่องของผู้เสียชีวิตจากโอไมครอน นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรค ได้กล่าวว่า โอไมครอนได้คร่าชีวิตไปเเล้ว 2 ราย โดยรายเเรกมีผลยืนยันว่าเสียชีวิตจากติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนเป็นหญิงไทย อายุ 86 ปี บ้านอยู่ที่ จ.สงขลา ได้รับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม เสียชีวิต 12 ม.ค.
สำหรับไทม์ไลน์ผู้เสียชีวิตจากโอมิครอนรายเเรกของไทย เป็นผู้ป่วยติดเตียง มีอาการเป็นอัลไซเมอร์ โดย 6 ม.ค. พบมีประวัติใกล้ชิดผู้ติดเชื้อซึ่งเป็นคนในบ้านที่เดินทางมาจาก จ.ภูเก็ต 7 ม.ค. ส่งเข้ารักษาตัวโรงพยาบาล ตรวจ RT-PCR พบผลเป็นบวกติดเชื้อโควิด มีอาการไข้สูง 38.5 องศาเซลเซียส มีปอดอักเสบ ไอ และหายใจลำบาก ซึ่งทาง รพ.ก็ให้ยาหลายขนานรักษาอย่างเต็มที่ แต่ก็มาเสียชีวิตลงเมื่อ 12 ม.ค.
สำหรับใน ผู้เสียชีวิตจากโอมิครอนรายที่2ในไทย ที่ยืนยันเป็นสายพันธุ์โอมิครอนประเทศไทย เป็นเพศหญิง 84 ปี ภูมิลำเนาอ.กุดจับ อุดรธานี ป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้าย เสียชีวิต 15 ม.ค. โดยในระยะแรกที่มีการติดเชื้อไม่ปรากฏอาการชัดเจน มีประวัติลูกชายติดเชื้อ ครอบครัวให้ผู้ป่วยตรวจหาเชื้อ Rt-PCR 9 ม.ค. พบว่าติดเชื้อ โดยวันที่ 10 ม.ค. ประสาน รพ. ให้มีการรับไว้รักษาใน รพ. แต่ทั้งผู้ป่วย และญาติแสดงความประสงค์รักษาตัวที่บ้าน Home isolation มีการให้ยาฟาวิพิราเวียร์ทันที
เปิดไทมน์ไลน์ ผู้เสียชีวิตจากโอมิครอนรายที่2ในไทย
9 ม.ค.65 ตรวจหาเชื้อโควิดด้วยวิธี RT-CPR
10 ม.ค.65 ผลตรวจเป็นบวก โรงพยาบาลประสานเพื่อแอดมิท ผู้ป่วยและญาติปฏิเสธการรักษาในรพ. แพทย์อนูญาตให้เข้าสู่ระบบ กักตัวที่บ้าน ตามความประสงค์ของผู้ป่วยและญาติ แพทย์ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ ตามแผนการรักษาและจัดเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายและออกซิเจนปลายนิ้ว โดยออกซิเจนปลายนิ้วอยู่ระหว่าง 86-90% ไม่มีไข้ ซึ่งก่อนติดเชื้อลูกชายที่ดูแลแจ้งว่า ค่าออกซิเจนปลายนิ้วผู้ป่วยอยู่ระหว่างช่วงดังกล่าว ผู้ป่วยไม่เหนือย หายใจไม่หอบ
11-12 ม.ค.65 ออกซิเจนปลายนิ้วอยู่ระหว่าง 86-90% ไม่มีไข้ ม่เหนื่อย หายใจไม่หอบ
13-14 ม.ค.65 รับประทานได้น้อยลง ไม่หายใจหอบ ไม่มีไข้ ออกซิเจนปลายนิ้ว 86-87%
15 ม.ค.65 เหนื่อย หายใจหอบ ค่าออกซิเจนปลายนิ้ว 76% เปลี่ยนออกซิเจนจาก connula เป็น mask c bag ให้ออกซิเจนปลายนิ้ว 90% ประสานผู้ป่วยนำส่งรพ. แต่ญาติปฏิเสธ การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แพทย์ให้เพิ่มฟาวิพิราเวียร์ จาก 5 วันเป็น 10 วัน และเพิ่ม morphine ให้เนื่องจากยาเดิมหมด เวลา 16.00 น. ผู้ป่วยตอบสนองได้น้อยมาก หายใจหอบ คลำชีพจรไม่ได้ หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตเวลา 19.40 น. รวมระยะเวลารักษา กักตัวที่บ้าน 6 วัน