เผยสัญญาณอันตราย 9 อาการป่วย "โอไมครอนในเด็ก" แบบไหนต้องเฝ้าระวัง

21 มกราคม 2565

เผยสัญญาณอันตราย 9 อาการป่วยโอไมครอนในเด็ก แบบไหนที่ต้องเฝ้าระวัง พบ 15% มีอาการผื่นขึ้นอย่างผิดปกติ อุณหภูมิ-อัตราชีพจรสูงมาก

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์โอไมครอน หรือ โอมิครอน (Omicron) ที่กำลังลุกลามอย่างหนักในหลายประเทศตอนนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงไม่แพ้กันคือ ความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิดของเด็กที่มีมากขึ้น แต่เนื่องจากเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีหลายคน ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน 

 

ทั้งนี้ เดอะซัน สื่อของอังกฤษ รายงานว่า เด็กไม่เสี่ยงติดโรคโควิดขั้นรุนแรง แต่หากยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ทำให้ไร้การป้องกันเชื้อไวรัส ซึ่งมีแนวโน้มเป็นพาหะของไวรัสส่งต่อไปยัง ครอบครัว พ่อแม่ พี่น้อง และที่โรงเรียน ขณะที่รายงานก่อนหน้านี้อ้างว่า โอไมครอน อาจแตกต่างกันเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ ซึ่งระบบสาธารณสุขประจำประเทศอังกฤษ (National Health Service: NHS) ระบุอาการหลักของโควิดในเด็กและผู้ใหญ่ ดังนี้

- อุณหภูมิสูง

- การไอต่อเนื่องครั้งใหม่ หมายถึง การไอมากเกิน 1 ชั่วโมง หรือไอ 3 ครั้งขึ้นไปใน 24 ชั่วโมง

- สูญเสียหรือเปลี่ยนประสาทสัมผัสในการรับกลิ่นหรือรส

- เมื่อยล้า

- คัดจมูก น้ำมูกไหล

- ปวดหัว

- เจ็บคอ

- เบื่ออาหาร

- ปวดเมื่อยตามร่างกาย

เผยสัญญาณอันตราย 9 อาการป่วยโอไมครอนในเด็ก แบบไหนที่ต้องเฝ้าระวัง

 

ขณะที่ ผู้เชี่ยวชาญที่ ZOE ได้รวบรวมอาการของผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ในอังกฤษ มักมีผื่นขึ้นตามร่างกายอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ ลมพิษ ผดร้อน และชิลเบลนส์อาการผื่น ซึ่งส่วนใหญ่พบในเด็ก

ด้าน ดร.แองเจลิค โคเอทซี ประธานสมาคมการแพทย์แห่งแอฟริกาใต้ เปิดเผยว่า อาการหลักของโอไมครอน ที่พบในชายหนุ่ม คือ ความเหนื่อยล้า ปวดศีรษะ และปวดเมื่อยตามร่างกาย ส่วนกรณีของเด็กหญิงอายุ 6 ขวบ จะมีอุณหภูมิและอัตราการเต้นของชีพจรสูงมาก

ด้าน ดร.เดวิด ลอยด์ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป โรงพยาบาลแห่งหนึ่งทางตอนเหนือของลอนดอน เผยว่า เด็กทั้งหมดที่เขาได้รับการรักษานั้น ยืนยันว่าอาการของไวรัสโควิดแตกต่างกับ โอไมครอน ประมาณ 15% ซึ่งมีอาการผื่นขึ้นผิดปกติ มีอาการอ่อนแรง ปวดหัว และเบื่ออาหาร ซึ่งคล้ายกับอาการต่าง ๆ ที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ใหญ่

-กรมวิทย์ฯ เปิดผลทดสอบ 8 สูตรวัคซีน เทียบให้เห็นชัดๆ แบบไหนสู้ โอมิครอน ได้ดี
-เบทาโกร ออกหนังสือชี้แจง กรณีห้องเย็นสงขลา ยันไม่ได้กักตุน
-"ติดโควิด" รักษาตัวที่บ้าน สามารถเบิกค่าอาหารได้ ทำอย่างไร เช็คได้ที่นี่

เผยสัญญาณอันตราย 9 อาการป่วยโอไมครอนในเด็ก แบบไหนที่ต้องเฝ้าระวัง
 

ซึ่งทั้งหมดสอดข้องกับข้อมูลในประเทศของ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ให้ข้อมูลไว้ว่า สิ่งที่น่ากังวลคือ อัตราป่วยนอนโรงพยาบาลในเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปีลงมานั้นอยู่ในระดับพอกันระหว่าง โอไมครอน และเดลตา ซึ่งย้ำเตือนว่า กลุ่มเด็กเล็กนั้นควรได้รับการดูแลป้องกัน เนื่องจากยังไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้ในช่วงที่ผ่านมา ถึงแม้ช่วงวัย 5-11 ปี จะเพิ่งมีวัคซีนที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ได้ แต่ทั่วโลกคงต้องใช้เวลาอีกระยะกว่าจะเข้าถึงได้อย่างครอบคลุม


ขณะทางด้าน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า อาการโควิดในเด็ก จะมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ โดยสมัยก่อนเด็กจะมีภาวะ "โรคคาวาซากิ" เป็นโรคที่มีการอักเสบทั้งร่างกาย หัวใจ และเส้นเลือดหัวใจ ทำให้มีลักษณะ เป็นผื่น ลิ้นแดง เป็นตุ่มลิ้นสาก และ ช็อกได้ หรือ มีภาวะเส้นเลือดหัวใจอักเสบอุดตัน ซึ่งหากในผู้ใหญ่ จะไม่ออกอาการที่มีผื่นให้เห็น แต่อวัยวะภายในถูกกระทบคล้ายๆกัน

 

สำหรับอาการที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ แบ่งเป็น 3 ประการ คือ

1. อาการทางระบบทางเดินหายใจ

2. อาการนอกระบบทางเดินหายใจ เช่น ปวดศรีษะ ตัวร้อน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ท้องเสีย และมีอาการทางหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ หรือ ความดันโลหิตตก 

3. มีอาการทั้งสองอย่างปนกัน 

 

ขอบคุณข้อมูล The Sun Chroniclelive