คุณตาปวดท้อง ฉี่ขัด ทนอยู่นาน สุดท้ายหมอผ่าเจอนิ่วยักษ์หนักเกือบครึ่งโล!

22 มกราคม 2565

หมอเตือนอุทาหรณ์คุณตาปวดท้อง ฉี่ขัด ทนอยู่นาน สุดท้ายหมอผ่าเจอนิ่วก้อนยักษ์หนักเกือบครึ่งโล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบ 10 ซม.

จากกรณีที่คุณหมอโรงพยาบาลนครพิงค์โพสต์เตือนอุทาหรณ์คุณตาปวดท้อง ฉี่ขัด ทนอยู่นาน สุดท้ายผ่าเจอนิ่วก้อนยักษ์หนักเกือบครึ่งกิโลฯ และมีเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบ 10 ซม.   

โดยโพสต์ดังกล่าวระบุข้อความว่าติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อยๆอย่าละเลย อาจมีสาเหตุจากนิ่วในทางเดินปัสสาวะ 
อาการปัสสาวะแสบขัด
หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบนั้น เป็นอาการที่พบได้บ่อย หลายคนอาจจะไปพบแพทย์หรือซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง ซึ่งอาการก็มักจะดีขึ้นและรักษาหายได้ไม่ยาก แต่หากมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ กินยาแล้วไม่ดีขึ้น อย่าละเลย เพราะอาจจะมีสาเหตุจากนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะได้ เช่นกรณีผู้ป่วยรายนี้

คุณตาปวดท้อง ฉี่ขัด ทนอยู่นาน สุดท้ายหมอผ่าเจอนิ่วยักษ์หนักเกือบครึ่งโล

ผู้ป่วยชายอายุ 76 ปีมีอาการปัสสาวะแสบขัด ปวดท้องน้อย มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหลายครั้ง ส่งมารักษาที่แผนกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ รพ.นครพิงค์ ตรวจเอกซเรย์พบว่ามีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางเกือบ 10 ซม. ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะจึงได้ทำการผ่าตัดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะออก พบว่านิ่วมีขนาดใหญ่น้ำหนักเกือบครึ่งกิโลกรัม หลังผ่าตัดผู้ป่วยปัสสาวะโล่งดี ไม่พบการติดเชื้อแล้ว

-เสี่ยชัช สายเปย์ ไร้งาน โดนเทคิวโชว์เป็น 100 ต้องกลับไปขุดหน่อกล้วยขาย
-สาวแก้เผ็ดมิจฉาชีพ แกล้งหลอกขอซื้อเสื้อผ้า ทำมิจฉาชีพเสียรู้
-ชาวเน็ตจับโป๊ะ อนุทิน โพสต์รูปทำงานนอกสถานที่ ก่อนรีบลบแต่ชาวเน็ตแคปทัน

คุณตาปวดท้อง ฉี่ขัด ทนอยู่นาน สุดท้ายหมอผ่าเจอนิ่วยักษ์หนักเกือบครึ่งโล

โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ พบได้ราวๆ 3-5% ของผู้ป่วยนิ่วในทางเดินปัสสาวะทั้งหมด โดยสถิติผู้ป่วยนอกของรพ.นครพิงค์ในปี 2564 พบว่ามีผู้ป่วยนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ 240 ราย(นิ่วทางเดินปัสสาวะรวมทุกชนิด 7,451 ราย) โดยโรคนี้เกิดได้ 2 รูปแบบ คือ 

1.เกิดจากการเป็นนิ่วในไตมาก่อนแล้วเลื่อนหลุดลงมาสะสมเพิ่มขนาดในกระเพาะปัสสาวะ 
2.เกิดในกระเพาะปัสสาวะเอง ซึ่งในกรณีนี้มักพบร่วมกับโรคหรือภาวะที่ทำให้ขับปัสสาวะได้ไม่หมด เช่น ต่อมลูกหมากโต กระเพาะปัสสาวะพิการจากระบบประสาท ท่อปัสสาวะตีบ เป็นต้น

ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะ กะปริดกะปรอย  ปัสสาวะแสบขัด ปวดท้องน้อย ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเป็นเลือด หากตรวจปัสสาวะอาจพบเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวที่บ่งชี้ถึงการติดเชื้อ

การวินิจฉัยนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ สามารถทำได้จากการตรวจทางรังสี เช่น เอกซเรย์ อัลตราซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และการส่องกล้อง

การรักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะในปัจจุบัน สามารถทำได้ทั้งการผ่าตัดส่องกล้องทางท่อปัสสาวะซึ่งเหมาะกับนิ่วที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ซม. การส่องกล้องทางหน้าท้อง และการผ่าตัดแบบเปิดซึ่งเหมาะกับนิ่วที่มีขนาดใหญ่ รวมไปถึงการรักษาโรคร่วมที่เป็นสาเหตุให้เกิดนิ่ว เช่น โรคต่อมลูกหมากโต ท่อปัสสาวะตีบ เพื่อป้องกันโอกาสที่จะเกิดนิ่วซ้ำ

หากท่านมีอาการข้างต้น หรือมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคและให้การรักษาที่เหมาะสมกับโรคต่อไป

นพ.ประพนธ์ เปี่ยมอนันต์ ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลนครพิงค์

 

ขอบคุณ โรงพยาบาลนครพิงค์